1.ธงชัย สันตวิงษ์ (2533: 257) กล่าวว่าองค์การหมายถึงรูปแบบการทํางานของมนษุย์ที่มีลักษณะการทํางานเป็นกลุ่มและมีการ ประสานงานกันตลอดเวลา ตลอดจนต้องมีการกําหนดทิศทาง
มีการจัด ระเบียบวิธีทํางานและการติดตามวัดผลสําเร็จของงานที่ทําอยู่เสมอ ด้วย
2.ฟลิบเนอร์และเชอร์วูด (Pfeiffer and
Sherwood, 1965) นิยามว่าองค์การเป็นกระบวนการที่มีแบบแผนซึ่งประกอบไปด้วยบคุคลจํานวน
มากเกินกว่าที่จะมาพบกันได้หมด บุคคลเหล่านี้ต่างก็มาปฏิบัติงานที่มี ความซับซ้อนและบุคคลความสัมพันธ์กันอย่างจงใจและต่างก็มีจุดมุ่งหมาย
ในผลสําเร็จที่ตั้งหวังไว้ร่วมกัน
3.แคทซ์และแคน (Katz and Kahn, 1966: 64) และเชสเตอร์ (Chester, 1970) สรุปว่า
องค์การหมายถึง หน่วยงานทางสังคมที่มี บุคคลจํานวนมากมาร่วมแรงร่วมใจประสานกันทํางานหรือกิจกรรมที่มี
ความซับซ้อนอย่างมีระบบ และร่วมกันตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุ ทั้งเป้าหมายส่วนบคุคลและเป้าหมายองค์การ
4.พอร์ทเตอร์ ลอร์เลอร์และแฮคเคอร์ (Porter,
Lawler and Hacker, 1975) องค์การ คือ หน่วยงานซึ่งมีคนจํานวนมากร่วมมือร่วมใจกันที่จะ
ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีวตัถุประสงค์ที่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน
แน่นอนและมีเหตุผล
ประเภทขององค์การ
1. แบ่งตามความมุ่งหมายที่จัดตั้งขึ้น
- องค์การเพื่อผลประโยชน์ร่วมของสมาชิก
(Mutual-benefit) เช่น พรรคการเมือง สมาคม และสหกรณ์
- องค์การเพื่อธุรกิจ (Business
concern) เช่น บริษัท ห้างร้าน และ ธนาคาร
- องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal
organization) เช่น กระทรวง ทบวง กรม กอง
- องค์กรเพื่อการบริการ (Service organization) เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล
2. แบ่งตามหลักการจัดระเบียบภายในองค์การ
- องค์การรูปนัย (Formal Organization) ซึ่งเป็นองค์การที่มีระเบียบแบบ
แผน มีโครงสร้างที่ชดัเจน
- องค์การอรูปนัย (Informal
Organization) คือการที่กลุ่มบุคคลมารวมตัว กันเป็นสังคมที่ไม่ม่ีระเบียบแบบแผน
ไม่ม่ีรูปแบบเฉพาะ โครงสร้าง หลวมๆ โดยมีความสมัพันธ์ระหวา่งบุคคลแบบไม่เป็นทางการ
โดยอาจมี ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมและรสนิยมท่ีตรงกัน
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งองค์การออกเป็น 2 แบบได้แก่ (สวุรรณี, 2547)
- องค์การแบบแนวดิ่ง (Vertical Organization) คือ องค์การที่มีขั้นการ บังคับบญัชา (Chain of Command) ลดหลั่นกันลงมา เช่น งานทาง การทหาร และงานประเภทโรงงาน
- องค์การแบบแนวราบ (Horizontal
Organization) เป็นรูปแบบของ องค์การท่ีเหมาะกับงานที่ต้องการการปรึกษาหารือร่วมกัน
เช่น งานด้าน วิชาการและงานวิชาชีพ
รูปแบบของโครงสร้างองค์การ
โครงสร้างองค์การเป็นแบบแผนที่กําหนดขอบเขตของงานและ ความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่
1. โครงสร้างองค์การระบบราชการ (Bureaucratic
Structure) เป็นลักษณะโครงสร้างองค์การซึ่งมีความซับซ้อนสูง
มีความเป็น ทางการสูง เป็นระบบการจดัการโดยถือเกณฑ์โครงสร้างงานที่เป็น
ทางการของอํานาจหน้าที่ซึ่งกําหนดไว้อย่างเคร่งครัดมีการติดตาม การทํางานอย่างรัดกุมทําให้โครงสร้างองค์การแบบนี้บางครั้งขาด
ความยืดหยุ่นเพราะมีขั้นตอนมากและแจทําให้เกิดความล่าช้าใน การทํางาน
2. โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต (Organic
Structure) เป็น โครงสร้างองค์การที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัว
มีกฎเกณฑ์และ ข้อบังคับเล็กน้อย มีความเป็นทางการน้อยกว่าระบบราชการ
สามารถยืดหยุ่นได้ มีการสง่เสริมการทํางานเป็นทีม และมีการ กระจายอํานาจการตัดสินใจให้แก่พนักงานผ้ปูฏิบตัติาม
3. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ (Matrix
Structure) มีการ
พฒันาแรกเริ่มจากการมีเป้าหมายของความสําเร็จตามโครงการ โครงสร้างของงานในโครงการมีการมอบหมายให้กับผู้ชำนาญการ
จากแผนกงานที่มีหน้าที่ไปปฏิบัติในหนึ่งโครงการหรือมากกว่าหนึ่ง โครงการ
4. โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก (Line or
Hierarchy Organization Structure) คือ แต่ละหน่วยงานมีการกําหนดการสั่งการ
และการควบคุม ผ่านสายบังคับบญัชาตามลําดับชั้นจากผู้บริหารระดับสูงไปยัง ผู้ใต้บังคับบญัชาอันดับรองลงมาซึ่งเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยจะรับคําสั่ง
คําแนะนําและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาคนเดียว
5. โครงสร้างองค์กรแบบงานหลักและงานที่ปรึกษา (Line
and Staff Organization Structure) การจัดโครงสร้างขององค์กรนี้จะมี
หน่วยงานที่ปรึกษาเข้ามา เพื่อช่วยศึกษาค้นคว้าให้คําแนะนํา ให้บริการและแก้ปัญหาต่างๆ
ให้หน่วยงานหลัก หน่วยงานที่ปรึกษา นี้จะเป็นอิสระขึ้นตรงกับผู้บริหารในฝ่ายหรือแผนกนั้นๆ
ลักษณะสำคัญสำหรับกระบวนการจดัองค์การ
1. การออกแบบงาน (Job
design) การแบง่งานภายในองค์การทั้งหมด ออกเป็นแผนก กําหนดตําแหน่ง ลักษณะโครงสร้างงาน
(Structure of work) การเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job enrichment) การขยายปริมาณงาน (Job enlargement) การหมนุเวียนงาน (Job rotation) การทําให้งานง่ายขึ้น(Job simplification) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Job specialization)
2. การจัดแผนก (Departmentalization)
-
การจัดตามหน้าที่
-
การจัดตามผลติภณัฑ์
-
การจัดตามที่ตั้ง
-
การจัดตามแผนกกลุ่มลูกค้า
-
การใช้หลายเกณฑ์ร่วมกัน
3. การมอบหมายงาน (Delegation)
-
แบบกระจายอํานาจ (Decentralized Organization)
-
แบบรวมอํานาจ (Centralized
Organization)
4. ขนาดของการจัดการควบคุม (Span of Management)
-
แบบแนวนอน (Wide Span)
-
แบบสงู (Narrow Span)
5. การจดัตามสายงานและท่ปีรึกษา
การพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การคือความพยายามเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนทั่วทั้งองค์การโดยเริ่มจากฝ่ายบริหารระดับสูง
เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตขององค์การโดยการสอดแทรกสิ่ง
ที่ได้มีการวางแผนไว้แล้วเข้าไปในกระบวนการของ องค์การด้วยการใช้ความรู้ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การควรดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ
2. การสอดแทรกวิธีการใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาองค์การ
3. การบำรุงรักษาวิธีการใหม่ๆนั้นให้คงอยู่ตลอดไป
หลักการพัฒนาองค์การ
1. การพัฒนาทางด้านโครงสร้าง
2. การพัฒนาทางด้านกระบวนการ
วิธีการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การมีวิธีการหลายแบบที่นำมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวิธีการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการมาใช้เป็นที่นิยมแพร่หลายมานานได้แก่
1. การฝึกอบรมแบบการฝึกการปะทะสังสรรค์
2. การประชุมปรึกษาหารือ
3. การสร้างทีมงาน
4. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ
การแบ่งประเภทขององค์การจะทำให้เข้าใจดีขึ้น
เช่น
1.
องค์การทางสังคม ครอบครัว
สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา วัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม
สถาบัน กลุ่ม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชนในระดับสังคม
2. องค์การทางราชการ ทุกระบบที่เป็นส่วนราชการ
ระดับกระทรวง ทบวง กรม
3. องค์การเอกชน เช่น
บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ
ลักษณะขององค์การทางธุรกิจนั้น แบ่งได้เป็น
- องค์การที่มีเจ้าของคนเดียวจัดระบบการทำงานโดยมีลูกน้องมาร่วมมือกันทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ
และในปัจจุบันธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการตลาดแบบออนไลน์
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในองค์การประเภทนี้จะต้องร่วมรับผิดชอบในองค์การร่วมกันในทุกเรื่องทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
องค์การธุรกิจประเภทนี้มีความต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่
เฉพาะหุ้นส่วนเฉพาะบางคนเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบไม่จำกัด
ผู้ถือหุ้นนอกนั้นรับผิดชอบ “จำกัด” ตามจำนวนหุ้นที่ตัวเองถือครอง
รูปแบบองค์การ
- รูปแบบที่เป็นทางการ
เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างมีระบบ แบบแผน ชัดเจน
ครอบคลุมทุกส่วนของ การปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
- รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ
เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างไม่มีระบบของการบริหารไม่กฎเกณฑ์ ไม่ ระเบียบข้อบังคับของการปฏิบัติงาน
วันที่ 1 พศจิกายน 2560