⛄การจักการงานอาชีพ (Management)⛄
😃😃😃😃😃
☔ขั้นตอนของการพัฒนาด้านอาชีพ
ช่วงแรก
เป็นระยะเริ่มต้นก้าวสู่งานอาชีพ (ESTABLISHMENT
STAGE) ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ 21-26 ปี
ช่วงวัยนี้แต่ละคนยังไม่ค่อยมั่นใจในขีดความสามารถ (COMPETENCY) และศักยภาพ (POTENTIAL)
ของตนเองมากนัก
ดังนั้นการทำงานของคนในวัยนี้ ยังต้องพึ่งพิงพนักงานรุ่นพี่หรือผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า ให้ช่วยแนะนำสอนงาน
รวมทั้งช่วยประเมินเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงานของพวกเขาว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงใด
กล่าวโดยสรุป ช่วงอายุ 21-26 ปี
เป็นวัยซึ่งคนเริ่มต้นตัดสินใจเลือกว่า จะก้าวเข้าสู่งานอาชีพอะไร
จะทำงานในหน่วยงานใดในตำแหน่งงานอะไร คนในช่วงวัยนี้
อยู่ในวัยของการสำรวจแสวงหาลู่ทางสำหรับงานในอนาคตของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ
เรียนรู้ทำความเข้าใจในศักยภาพของตนเองว่า มีความถนัดในด้านใดมากน้อยเพียงใด
ช่วงที่ 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงอายุประมาณ 26-40 ปี (ADVANCEMENT
STAGE) เป็นช่วงการไขว่คว้าหาความก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเอง
ช่วงวัยนี้แต่ละคนเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
เริ่มทำงานได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพิงพนักงานรุ่นพี่หรือผู้บังคับบัญชามากขึ้น
คนทำงานในวัยนี้ มุ่งมั่นทำงานเพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเอง
พยายามเรียนรู้ให้สามารถทำงานได้ด้วยความสามารถของตนเอง
พยายามสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
รวมทั้งมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จของงานอาชีพในระยะยาวเป็นเป้าหมายหลักที่จะไปให้ถึง
ช่วงที่ 3
ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี (MAINTENANCE
STAGE) เป็นช่วงอายุของการบำรุงรักษาและทบทวนงานอาชีพของตนเอง
ทั้งนี้เพราะในช่วงวัยนี้
คนจำนวนหนึ่งอาจประสบความสำเร็จมีความก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเองในระดับมากพอสมควร
ในขณะที่มีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเท่าที่ควรหรืออาจกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ในชีวิตการทำงานของตนเองด้วยซ้ำ
สำหรับพวกที่ประสบความสำเร็จ คนกลุ่มนี้จะพยายามทำตัวให้มีประโยชน์ต่อองค์การ
โดยให้ความช่วยเหลือพนักงานรุ่นน้อง ๆในการแก้ไขและพัฒนาการทำงานต่าง ๆ
ช่วงที่ 4 ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุประมาณ
60 ปีขึ้นไป คนในวัยนี้เป็นวัยเกษียณอายุ (WITHDRAWAL STAGE) เป็นช่วงวัยที่คนยุติชีวิตการทำงานของตนเอง
เพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานคนในวัยนี้ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์
ความรู้ที่ตนเองสั่งสมมาตลอดชีวิตการทำงานให้กับคนรุ่นหลัง
สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จมาตลอดระยะเวลายาวนานในงานอาชีพของตนเองมักมีความรู้สึกภาคภูมิใจและต้องการจากงานอาชีพของตน
โดยทิ้งความสำเร็จของตนเองเป็นอนุสรณ์ให้ผู้คนระลึกถึงต่อไปการทำความเข้าใจ ช่วงเวลาที่คนทำงานต้องก้าวหน้าไปในแต่ละระยะของงานอาชีพ
จะช่วยให้พนักงานสามารถพัฒนาตนเองให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุการทำงานของเขา
ในส่วนขององค์การนั้น
☔การจัดทำสายอาชีพ
ขั้นตอนที่ 1 : การศึกษาโครงสร้างองค์การ/ตำแหน่ง
เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดผังโครงสร้างองค์การ
โครงสร้างตำแหน่งงาน และระดับตำแหน่งงานขององค์การในปัจจุบัน
และนำไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์งาน
การจัดกลุ่มงานให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์การ
โดยต้องสำรวจและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ผังโครงสร้างองค์การ/หน่วยงาน (ORGANIZATION CHART) ว่าองค์การกำหนดผังโครงสร้างในภาพรวมเป็นอย่างไร
โดยจัดแบ่งหน่วยงานเป็นระดับฝ่าย ส่วน และแผนกอย่างไรบ้าง
- ผังโครงสร้างตำแหน่งงาน (POSITION CHART) ในแต่ละหน่วยงานประกอบด้วยตำแหน่งงานใดบ้าง
ซึ่งรวมทั้งตำแหน่งงานว่างและตำแหน่งงานที่มีผู้ดำรงตำแหน่งรวมทั้งสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานเป็นอย่างไร
- ระดับตำแหน่งงาน (POSITION LEVEL) พิจารณาระดับตำแหน่งงานทั้งหมดขององค์การว่าจัดแบ่งเป็นระดับใด
โดยให้ระบุระดับของตำแหน่งงานตั้งแต่ระดับสูงสุดจนกระทั่งระดับล่างสุด
ขั้นตอนที่ 2
: การวิเคราะห์งาน (JOB ANALYSIS) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกลุ่มงาน
(JOB FAMILY) และจัดทำรูปแบบของสายอาชีพ (CAREER MODEL) ให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์การ
การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและกิจกรรมหลักของแต่ละงาน รวมทั้งคุณสมบัติที่จำเป็นของงานในตำแหน่งงานต่างๆ
ซึ่งจะประกอบไปด้วยวุฒิการศึกษา
ประสบการณ์ที่จำเป็นและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
วิธีการเก็บข้อมูลสามารถทำได้ 2 วิธี
ได้แก่
-
การสัมภาษณ์พนักงาน
โดยการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สัมภาษณ์หัวหน้างานและพนักงานเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบรวมทั้งคุณสมบัติขั้นต่ำที่จำเป็นและความสามารถของแต่ละตำแหน่งงาน
-
การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย
(FOCUS GROUP) โดยการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดสัมมนากลุ่มย่อยสำหรับหัวหน้างานและพนักงาน
เพื่อฝึกอบรม
ฝึกสอนและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการในการจัดทำคำบรรยายลักษณะงานอย่างถูกต้องเหมาะสมสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำสายอาชีพต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 : การจัดกลุ่มงาน
(JOB FAMILY) เป็นการจัดแบ่งกลุ่มงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของตำแหน่งงานใกล้เคียงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
โดยวิเคราะห์จากคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งงานที่จัดขึ้น
โดยมีวิธีการจัดทำดังนี้
-
ศึกษาขอบเขตหน้าที่งาน
(SCOPE OF WORK) และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน
(JOB SPECIFICATION) ซึ่งประกอบไปด้วยการศึกษา ประสบการณ์
ความสามารถที่จำเป็นของตำแหน่งงาน โดยศึกษาจากคำบรรยายลักษณะงานที่จัดทำขึ้น
-
จัดแบ่งกลุ่มงาน
(JOB FAMILY) โดยพิจารณาจัดกลุ่มงานจากงานที่มีความสามารถ(COMPETENCY) ที่คล้ายคลึงกันควรจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
-
จัดแบ่งกลุ่มงานย่อย
(SUB GROUP) ของแต่ละกลุ่มงานที่กำหนดขึ้น
โดยพิจารณาจากขอบเขตหน้าที่
คุณสมบัติและความสามารถที่คล้ายคลึงกันจะอยู่ในกลุ่มงานย่อย
ขั้นตอนที่ 4 :
การจัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์กร
(CAREER
MODEL) และเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแนวทางในการจัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์การ
(CAREER MODEL) มีดังต่อไปนี้
- ระบุตำแหน่งงานทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยงานทั้งในระดับฝ่าย ส่วน
แผนกของแต่ละกลุ่มงานย่อยของแต่ละกลุ่มงาน (JOB FAMILY) ที่กำหนดขึ้น
- จัดกลุ่มแนวทางเลือกในสายอาชีพโดยการโอนย้ายกลุ่มงานให้เหมาะสม
ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในงาน (JOB COMPETENCY)
- โอนย้ายงานข้ามกลุ่มย่อยของกลุ่มงานเดียวกัน
เช่นจากหน่วยงานคลังสินค้าไปยังหน่วยงานจัดส่ง -
โอนย้ายงานข้ามกลุ่มงานที่ต่างกัน เช่น จากฝ่ายผลิต ไป ฝ่ายวิศวกรรม
- หลังจากที่มีการกำหนดตำแหน่งงานในแต่ละกลุ่มงาน
รวมทั้งการจัดกลุ่มแนวทางเลือกในสายอาชีพโดยการโอนย้ายกลุ่มงานให้เหมาะสมแล้ว
ขั้นตอนต่อไปให้จัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของตำแหน่งงานและเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและแจ้งให้พนักงานทราบต่อไป
⛅การจัดการอาชีพให้ประสบความสาเร็จประกอบด้วย
1. การจัดการอย่างมีคุณภาพ
หมายถึง ผู้บริหารมีความรู้มีประสบการณ์ สามารถทางานให้บรรลุผล สาเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ
2.
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หมายถึง การผลติ สินค้าที่มีคณุภาพ
อาจกระทำได้โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ เริ่ม ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบ กระบวนการผลิต
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งมอบให้ลูกค้า
3.
ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยด้วยนวัตกรรมใหม่
4.
การลงทุนระยะยาวอย่างมีคุณค่า
5.
สถานภาพการเงินมั่นคง
6.
มีความสามารถในการดึงดูดใจลูกค้าให้สนใจในผลิตภัณฑ์
7.
ความรับผิด ชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
8.
การใช้ทรัพย์อย่างค้มุค่าแนวคิดเกี่ยวการทางานแบบมืออาชีพบคุคลที่มีอาชีพนอกจากจะต้องยอมรับในอาชพีของตนเองแล้วจะต้องพัฒนา
และสร้างโอกาสให้ตนเองประสบ ความสาเร็จในอาชีพอีกด้วยตามเส้นทางอาชพี ที่มีอยู่
⛅บุคคลจะประสบความสาเร็จได้ต้องวางแผนอาชพี
ดังนี้
1. การวางแผนการทางาน คือ การเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของอาชีพที่ต้องการหรือคาดหวังไว้
แต่ละคนจะต้องกำหนดงานอาชพี ที่เหมาะสมกับความร้ ความสามารถ ความชอบ
ความถนัดของตนมากที่สุด จึงจะเป็น ประโยชน์สูงสุดการทำงานจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่าง
ดังนี้
1.1
พื้นฐานของบุคคล
1.2
โอกาสและจังหวะในการทางานอาชีพ หรือได้มาซึ่ง ตำแหน่ง
1.3
สภาพแวดล้อมทางสังคมหรือองคก์
2.
ความก้าวหนน้าในงานอาชีพ คือ เส้นทางของหน้าที่ความรับผิดชอบการงานอาชีพ
ของบุค คลที่ถือครอง อยู่และสามารถระบุโอกาส หรือตำแหน่งสูงสุด ของงานอาชีพนั้นได้
3.การพฒันาเส้นทางงานอาชีพ บุคคลต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อเพิ่มพูนงาน
ขอขอบคุณ https://ab2541.weebly.com
สืบค้นเมื่อ วันที่ 27 ธันวาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น