วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการงานอาชีพ


⛄การจักการงานอาชีพ (Management)⛄

😃😃😃😃😃




☔ขั้นตอนของการพัฒนาด้านอาชีพ

           ช่วงแรก  เป็นระยะเริ่มต้นก้าวสู่งานอาชีพ (ESTABLISHMENT STAGE) ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ 21-26 ปี ช่วงวัยนี้แต่ละคนยังไม่ค่อยมั่นใจในขีดความสามารถ (COMPETENCY) และศักยภาพ (POTENTIAL) ของตนเองมากนัก ดังนั้นการทำงานของคนในวัยนี้ ยังต้องพึ่งพิงพนักงานรุ่นพี่หรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า ให้ช่วยแนะนำสอนงาน รวมทั้งช่วยประเมินเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงานของพวกเขาว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงใด กล่าวโดยสรุป ช่วงอายุ 21-26 ปี เป็นวัยซึ่งคนเริ่มต้นตัดสินใจเลือกว่า จะก้าวเข้าสู่งานอาชีพอะไร จะทำงานในหน่วยงานใดในตำแหน่งงานอะไร คนในช่วงวัยนี้ อยู่ในวัยของการสำรวจแสวงหาลู่ทางสำหรับงานในอนาคตของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ เรียนรู้ทำความเข้าใจในศักยภาพของตนเองว่า มีความถนัดในด้านใดมากน้อยเพียงใด

            ช่วงที่ 2  ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงอายุประมาณ 26-40 ปี (ADVANCEMENT STAGE) เป็นช่วงการไขว่คว้าหาความก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเอง ช่วงวัยนี้แต่ละคนเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เริ่มทำงานได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพิงพนักงานรุ่นพี่หรือผู้บังคับบัญชามากขึ้น คนทำงานในวัยนี้ มุ่งมั่นทำงานเพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเอง พยายามเรียนรู้ให้สามารถทำงานได้ด้วยความสามารถของตนเอง พยายามสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น รวมทั้งมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จของงานอาชีพในระยะยาวเป็นเป้าหมายหลักที่จะไปให้ถึง

            ช่วงที่ 3  ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี (MAINTENANCE STAGE) เป็นช่วงอายุของการบำรุงรักษาและทบทวนงานอาชีพของตนเอง ทั้งนี้เพราะในช่วงวัยนี้ คนจำนวนหนึ่งอาจประสบความสำเร็จมีความก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเองในระดับมากพอสมควร ในขณะที่มีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเท่าที่ควรหรืออาจกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ในชีวิตการทำงานของตนเองด้วยซ้ำ สำหรับพวกที่ประสบความสำเร็จ คนกลุ่มนี้จะพยายามทำตัวให้มีประโยชน์ต่อองค์การ โดยให้ความช่วยเหลือพนักงานรุ่นน้อง ๆในการแก้ไขและพัฒนาการทำงานต่าง ๆ

           ช่วงที่ 4  ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป คนในวัยนี้เป็นวัยเกษียณอายุ (WITHDRAWAL STAGE) เป็นช่วงวัยที่คนยุติชีวิตการทำงานของตนเอง เพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานคนในวัยนี้ต้องการถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ที่ตนเองสั่งสมมาตลอดชีวิตการทำงานให้กับคนรุ่นหลัง สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จมาตลอดระยะเวลายาวนานในงานอาชีพของตนเองมักมีความรู้สึกภาคภูมิใจและต้องการจากงานอาชีพของตน โดยทิ้งความสำเร็จของตนเองเป็นอนุสรณ์ให้ผู้คนระลึกถึงต่อไปการทำความเข้าใจ ช่วงเวลาที่คนทำงานต้องก้าวหน้าไปในแต่ละระยะของงานอาชีพ จะช่วยให้พนักงานสามารถพัฒนาตนเองให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงอายุการทำงานของเขา ในส่วนขององค์การนั้น




☔การจัดทำสายอาชีพ 

            ขั้นตอนที่ 1 : การศึกษาโครงสร้างองค์การ/ตำแหน่ง  เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดผังโครงสร้างองค์การ โครงสร้างตำแหน่งงาน และระดับตำแหน่งงานขององค์การในปัจจุบัน และนำไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์งาน การจัดกลุ่มงานให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์การ โดยต้องสำรวจและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                        - ผังโครงสร้างองค์การ/หน่วยงาน (ORGANIZATION CHART) ว่าองค์การกำหนดผังโครงสร้างในภาพรวมเป็นอย่างไร โดยจัดแบ่งหน่วยงานเป็นระดับฝ่าย ส่วน และแผนกอย่างไรบ้าง
                        - ผังโครงสร้างตำแหน่งงาน (POSITION CHART) ในแต่ละหน่วยงานประกอบด้วยตำแหน่งงานใดบ้าง ซึ่งรวมทั้งตำแหน่งงานว่างและตำแหน่งงานที่มีผู้ดำรงตำแหน่งรวมทั้งสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานเป็นอย่างไร
                        - ระดับตำแหน่งงาน (POSITION LEVEL) พิจารณาระดับตำแหน่งงานทั้งหมดขององค์การว่าจัดแบ่งเป็นระดับใด โดยให้ระบุระดับของตำแหน่งงานตั้งแต่ระดับสูงสุดจนกระทั่งระดับล่างสุด

           ขั้นตอนที่ 2 : การวิเคราะห์งาน (JOB ANALYSIS)  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกลุ่มงาน 
(JOB FAMILY) และจัดทำรูปแบบของสายอาชีพ (CAREER MODEL) ให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์การ การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและกิจกรรมหลักของแต่ละงาน รวมทั้งคุณสมบัติที่จำเป็นของงานในตำแหน่งงานต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ที่จำเป็นและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน วิธีการเก็บข้อมูลสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่            
                        - การสัมภาษณ์พนักงาน โดยการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สัมภาษณ์หัวหน้างานและพนักงานเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบรวมทั้งคุณสมบัติขั้นต่ำที่จำเป็นและความสามารถของแต่ละตำแหน่งงาน            
                        - การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย (FOCUS GROUP) โดยการมอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดสัมมนากลุ่มย่อยสำหรับหัวหน้างานและพนักงาน เพื่อฝึกอบรม ฝึกสอนและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการในการจัดทำคำบรรยายลักษณะงานอย่างถูกต้องเหมาะสมสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำสายอาชีพต่อไป

            ขั้นตอนที่ 3 : การจัดกลุ่มงาน (JOB FAMILY)  เป็นการจัดแบ่งกลุ่มงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของตำแหน่งงานใกล้เคียงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยวิเคราะห์จากคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งงานที่จัดขึ้น โดยมีวิธีการจัดทำดังนี้            
                        - ศึกษาขอบเขตหน้าที่งาน (SCOPE OF WORK) และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน
(JOB SPECIFICATION) ซึ่งประกอบไปด้วยการศึกษา ประสบการณ์ ความสามารถที่จำเป็นของตำแหน่งงาน โดยศึกษาจากคำบรรยายลักษณะงานที่จัดทำขึ้น            
                        - จัดแบ่งกลุ่มงาน (JOB FAMILY) โดยพิจารณาจัดกลุ่มงานจากงานที่มีความสามารถ(COMPETENCY) ที่คล้ายคลึงกันควรจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน            
                        - จัดแบ่งกลุ่มงานย่อย (SUB GROUP) ของแต่ละกลุ่มงานที่กำหนดขึ้น โดยพิจารณาจากขอบเขตหน้าที่ คุณสมบัติและความสามารถที่คล้ายคลึงกันจะอยู่ในกลุ่มงานย่อย

         ขั้นตอนที่ 4 : การจัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์กร 
(CAREER MODEL) และเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแนวทางในการจัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพขององค์การ (CAREER MODEL) มีดังต่อไปนี้            
- ระบุตำแหน่งงานทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยงานทั้งในระดับฝ่าย ส่วน แผนกของแต่ละกลุ่มงานย่อยของแต่ละกลุ่มงาน (JOB FAMILY) ที่กำหนดขึ้น            
- จัดกลุ่มแนวทางเลือกในสายอาชีพโดยการโอนย้ายกลุ่มงานให้เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในงาน (JOB COMPETENCY)
- โอนย้ายงานข้ามกลุ่มย่อยของกลุ่มงานเดียวกัน เช่นจากหน่วยงานคลังสินค้าไปยังหน่วยงานจัดส่ง -  โอนย้ายงานข้ามกลุ่มงานที่ต่างกัน เช่น จากฝ่ายผลิต ไป ฝ่ายวิศวกรรม
- หลังจากที่มีการกำหนดตำแหน่งงานในแต่ละกลุ่มงาน รวมทั้งการจัดกลุ่มแนวทางเลือกในสายอาชีพโดยการโอนย้ายกลุ่มงานให้เหมาะสมแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้จัดทำรูปแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของตำแหน่งงานและเกณฑ์ในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและแจ้งให้พนักงานทราบต่อไป




⛅การจัดการอาชีพให้ประสบความสาเร็จประกอบด้วย

          1. การจัดการอย่างมีคุณภาพ หมายถึง ผู้บริหารมีความรู้มีประสบการณ์ สามารถทางานให้บรรลุผล สาเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ
            2. ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หมายถึง การผลติ สินค้าที่มีคณุภาพ อาจกระทำได้โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ เริ่ม ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งมอบให้ลูกค้า
            3. ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยด้วยนวัตกรรมใหม่
            4. การลงทุนระยะยาวอย่างมีคุณค่า
            5. สถานภาพการเงินมั่นคง
            6. มีความสามารถในการดึงดูดใจลูกค้าให้สนใจในผลิตภัณฑ์
            7. ความรับผิด ชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
            8. การใช้ทรัพย์อย่างค้มุค่าแนวคิดเกี่ยวการทางานแบบมืออาชีพบคุคลที่มีอาชีพนอกจากจะต้องยอมรับในอาชพีของตนเองแล้วจะต้องพัฒนา และสร้างโอกาสให้ตนเองประสบ ความสาเร็จในอาชีพอีกด้วยตามเส้นทางอาชพี ที่มีอยู่
 
⛅บุคคลจะประสบความสาเร็จได้ต้องวางแผนอาชพี ดังนี้


        1. การวางแผนการทางาน คือ การเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของอาชีพที่ต้องการหรือคาดหวังไว้ แต่ละคนจะต้องกำหนดงานอาชพี ที่เหมาะสมกับความร้ ความสามารถ ความชอบ ความถนัดของตนมากที่สุด จึงจะเป็น ประโยชน์สูงสุดการทำงานจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่าง ดังนี้
                        1.1 พื้นฐานของบุคคล
                        1.2 โอกาสและจังหวะในการทางานอาชีพ หรือได้มาซึ่ง ตำแหน่ง
                        1.3 สภาพแวดล้อมทางสังคมหรือองคก์
            2. ความก้าวหนน้าในงานอาชีพ คือ เส้นทางของหน้าที่ความรับผิดชอบการงานอาชีพ ของบุค คลที่ถือครอง อยู่และสามารถระบุโอกาส หรือตำแหน่งสูงสุด ของงานอาชีพนั้นได้
            3.การพฒันาเส้นทางงานอาชีพ บุคคลต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อเพิ่มพูนงาน  




ขอขอบคุณ  https://ab2541.weebly.com
สืบค้นเมื่อ วันที่ 27 ธันวาคม 2560









การวางแผน


🚔การวางแผน (PLANING)🚔


😝😝😝😝😝



🚨ความหมายของการวางแผน
            การวางแผน (Planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตขององค์การหรือหน่วยงานโดยเลือกวิธีทำงานที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้บรรลุผลตามที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด และการวางแผนนั้นจะพิจารณาในประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) จุดหมายปลายทาง (คืออะไร) 2) วิธีการดำเนินงาน (ทำอย่างไร) และ 3) ระยะเวลา (เสร็จสิ้นเมื่อไร)

🚨ความสำคัญของการวางแผน
            การวางแผนเป็นงานหลักและสำคัญในการบริหารของหน่วยงานในทุกระดับ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ที่จะทำให้หน่วยงานดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวางแผน หากวางแผนดีก็เท่ากับดำเนินงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง ดังนั้น การวางแผนจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงาน ดังนี้
            1 การวางแผนเป็นหน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร
            2 การวางแผนเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติตามแผนสามารถศึกษาเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการทำงานได้จากแผนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
            3 แผนและการวางแผนเป็นตัวกำหนดทิศทางและความรู้สึกในเรื่องของความมุ่งหมายสำหรับองค์การให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รู้ แผนเป็นกรอบสำหรับการตัดสินใจให้ผู้ปฏิบัติได้ อย่างดี จึงสามารถป้องกันมิให้มีการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแต่ละครั้งไปเท่านั้นด้วย
            4 แผนและการวางแผนจะช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มองไปในอนาคต และเห็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์หรือกระทำการต่างๆ ให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ทั้งยังมองเห็นปัญหาอุปสรรคและภัยคุกคามต่างๆ เพื่อจะหาทางป้องกัน ตลอดจนลดภาวะความเสี่ยงต่างๆ ได้ด้วย
            5 การตัดสินใจที่มีเหตุผลในการวางแผนนั้น จะมีการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีเวลาพอที่จะใช้ทั้งหลักทฤษฎี แนวความคิด และหลักการ ประกอบกับตัวเลขสถิติและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาตัดสินใจ จึงทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีเหตุผลและเป็นประโยชน์ตามต้องการ
            6 การวางแผนในเรื่องของการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามความต้องการ กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องกระทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ บังเกิดผลตามเป้าหมายนั้นๆ จะต้องได้รับการพิจารณา การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งวิธีการกระบวนการ ขั้นตอนของการกระทำ ทรัพยากรที่ต้องใช้ เวลา สถานที่และการควบคุมดูแลการทำงาน
            7 การวางแผนมีส่วนช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้มาก
            8 การวางแผนเป็นตัวนำในการพัฒนา

🚨ประโยชน์ของการวางแผน
            การวางแผนมีประโยชน์สำคัญหลายประการทั้งต่อผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
            1 ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
            2 ทำให้หน่วยงานมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย
            3 ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา ฯลฯ
            4 ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง “เปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ”
            5 ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานได้ง่าย


🚨ประเภทของแผน
            การจำแนกประเภทของแผน ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานที่นำมาใช้ในการจำแนกและจัดแบ่งประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานและง่ายต่อการทำความเข้าใจ การวางแผนอาจจำแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป การจำแนกประเภทของแผนที่สำคัญๆ มีดังนี้
            1 จำแนกตามระดับหน่วยงาน   เป็นแผนซึ่งระบุถึงระดับหน่วยงานที่กำหนดแผนและกำหนดวิธีการในการปฏิบัติตามแผน แผนประเภทนี้ได้แก่ แผนระดับชาติ แผนระดับกระทรวง แผนระดับกรม แผนระดับจังหวัด แผนระดับเขตพื้นที่การศึกษา แผนระดับโรงเรียน เป็นต้น

            2 จำแนกตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมาย  เป็นแผนซึ่งจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายโดยเฉพาะ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาชนบท แผนพัฒนาแหล่งอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เป็นต้น

            3 จำแนกตามระยะเวลา   แผนประเภทนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
                        3.1 แผนระยะสั้น (Short-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี เช่น แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan or Operation Plan) ในแผนจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ สถานที่ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ การวางแผนระยะสั้นอาจทำในรูปของแผนงาน (Program) หรือ โครงการ (Project) ซึ่งมีกิจกรรมไม่สลับซับซ้อน
                        3.2 แผนระยะปานกลาง (Intermediate-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่ 3-4 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นต้น
                        3.3 แผนระยะยาว (Long-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ในแผนจะกำหนดขอบเขตแนวทางไว้กว้างๆ เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ 15 ปี เป็นต้น
           นอกจากนั้นแผนทั้ง 3 ประเภท จะต้องประสานสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การกำหนดแผนระยะสั้นหรือระยะปานกลางโดยไม่คำนึงถึงแผนระยะยาว ย่อมมีผลเสียหายมากกว่าที่จะได้ผลดี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าแผนระยะสั้น หรือระยะปานกลาง อาจเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีแผนระยะยาว  และในทำนองเดียวกันแผนระยะยาวอาจไม่ประสบกับผลสำเร็จ หากไม่มีแผนระยะสั้นหรือระยะปานกลางขช่วยสนับสนุน  
           
            4 จำแนกตามลักษณะการใช้  โดยปกติองค์การหรือหน่วยงานต่างๆ จะมีแผนที่ใช้อยู่ 2 ประเภท คือ
                        4.1 แผนที่มีวัตถุประสงค์เดียว (Single-Purpose planning) เป็นแผนที่ใช้สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติเฉพาะงานหรือเฉพาะความรับผิดชอบหรือเป็นไปตามสภาวการณ์ ครั้นเมื่องานสำเร็จลุล่วงไปแล้วหรือสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงไป แผนนั้นก็จะถูกยกเลิกไม่ใช้อีกต่อไป หรืออาจเรียกว่า “แผนชั่วคราว” เช่น แผนลดค่าเงินบาท แผนป้องกันน้ำท่วม โครงการแพทย์อาสาสมัครเคลื่อนที่และอื่นๆ เป็นต้น
                        4.2 แผนที่ใช้อย่างต่อเนื่อง (Continuous-Use Planning) เป็นแผนที่ใช้สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน  แม้จะมีผลกระทบต่างๆ เกิดขึ้นในขณะดำเนินงาน   แผนชนิดนี้จะไม่เปลี่ยนโครงสร้างแต่จะปรับปรุงรายละเอียดให้สามารถดำเนินการต่อไปได้  หรืออาจเรียกได้ว่า “แผนถาวร” หรือ “แผนงานหลัก”ได้แก่นโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการพัฒนาชนบท  นโยบายการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์  นโยบายการลดอัตราการเกิด เป็นต้น

            5 จำแนกตามระดับการบริหารงานหน่วยงาน แผนประเภทนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
                        5.1 แผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นแผนที่ถูกจัดทำขึ้นโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้สอดคล้องกับเป็นหมายกลยุทธ์ของหน่วยงานแล้วประสานไปยังผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่าง ทำให้การวางแผนกลยุทธ์มีลักษณะการบริหารแบบลงล่าง (Top-Dow Planning) ที่ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญที่สุด การวางแผนกลยุทธ์จะกล่าวถึงขอบเขตกว้างๆ ของการจัดกิจกรรมของหน่วยงาน ซึ่งต้องครอบคลุมทรัพยากรทั้งหมดที่หน่วยงานมีอยู่ตลอดจนการพยากรณ์สภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เป้าหมายของการวางแผนกลยุทธ์ โดยทั่วไปจะมุ่งเน้นให้หน่วยงานเจริญเติบโตและดำรงอยู่ได้ในอนาคต กับการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของหน่วยงาน
                        5.2 แผนยุทธวิธี (Tactical Planning) เป็นแผนที่เกิดจากการกระทำร่วมกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้หน่วยงานธุรกิจก้าวไปสู่ผลสำเร็จที่วางไว้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายยุทธวิธีและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ แผนยุทธวิธี จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงและเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำโดยหน่วยงานย่อยซึ่งอยู่ภายในหน่วยงาน การวางแผนยุทธวิธีต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตกำหนดของแผนกลยุทธ์ แต่แผนยุทธวิธีจะทำหน้าที่ในการผสมผสานสอดคล้องระหว่างแผน  กลยุทธ์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยผู้บริหารระดับสูง กับแผนปฏิบัติการ ซึ่งเป็นแผนระดับล่างและมักเป็นแผนระยะสั้นเข้าด้วยกันโดยเน้นให้ครอบคลุมในสิ่งที่มีความสำคัญทั้งหมด เช่น ค่าใช้จ่าย รายได้ เวลา และเครื่องมือเครื่องใช้
                        5.3 แผนปฏิบัติการ (Operational Plans) ใช้อธิบายเป้าหมายในการปฏิบัติงานของหน่วยงานในลักษณะที่เป็นหน้าที่เฉพาะของหน่วยงาน หรือมีลักษณะที่เป็นงานที่ต้องทำเป็นประจำวันต่อวัน การวางแผนปฏิบัติการเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับล่างที่จะต้องกระทำตามเป้าหมายปฏิบัติการ และให้สอดคล้องกับแผนยุทธวิธี และแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการจึงมีลักษณะการวางแผนระยะสั้น ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ภายในหน่วยงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ผู้บริหารสามารถควบคุมได้

            6 การจำแนกแผนตามหน้าที่ดำเนินงาน  การวางแผนโดยจำแนกตามหน้าที่ดำเนินงาน สามารถจำแนกแผนออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่
                        6.1 แผนแม่บท (Master Plan) เป็นแผนที่เกิดจากการรวมแผนทั้งหมดภายในหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างโดยรวมของการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน และใช้เป็นแม่แบบในการวางแผนระดับรองลงไปของกิจการ
                        6.2 แผนหน้าที่ (Functional Plan) เป็นแผนที่ถูกวางขึ้นเพื่อเฉพาะเจาะจงใช้กับกลุ่มงาน แผนปฏิบัติงานจะเป็นแผนย่อยที่อยู่ในแผนใหญ่ที่เรียกว่าแผนแม่บท แผนปฏิบัติงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติทราบว่า หน่วยงานจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร และทำเพื่ออะไร ตลอดจนแสดงเป้าหมายสุดท้ายที่คาดหวัง เมื่อปฏิบัติตามแผนทุกอย่างหมดแล้ว
                        6.3 แผนงานโครงการ (Project) เป็นแผนที่หน่วยงานทำขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบาย เกี่ยวกับกิจกรรมใหญ่ของหน่วยงานเฉพาะครั้ง (เป็นกิจกรรมที่นานๆ ทำที มิใช่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ) ซึ่งต้องใช้ปัจจัยเป็นจำนวนมาก จากหน่วยงานต่างๆ หลายๆ หน่วยงาน การวางแผนงานโครงการจะช่วยให้หน่วยงานย่อยแต่ละหน่วยงานรู้หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนมีการประสานสัมพันธ์อันดี
                        6.4 แผนสรุป (Comprehensive Plan) เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสรุปรวมแผนหน้าที่ตลอดจนแผนงานโครงงานที่หน่วยงานกระทำ โดยอาจจำแนกเป็นหมวดหมู่ หรือจำแนกตามขอบเขตของงานหรือระดับความซับซ้อนในการปฏิบัติ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ            
                       6.5 แผนกิจกรรม (Activity Planning) เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นตารางเวลาของการปฏิบัติงาน (Schedule) แผนกิจกรรมจะแสดงให้เห็นว่า แต่ละหน่วยงานย่อยในหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมอะไร ในช่วงเวลาใดบ้าง กิจกรรมนั้นจะเริ่มต้นเมื่อไร และจะต้องดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องกับหน่วยงานใดบ้างหรือไม่ เพื่อให้งานนั้นแล้วเสร็จ บรรลุผลสำเร็จ ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

            7 จำแนกตามความถี่ของการนำแผนไปใช้  การจำแนกประเภทของแผนวิธีนี้ จะแบ่งแผนออกได้ เป็น 2 ประเภท ดังนี้
                        7.1 แผนหลัก (Standing Plan) (หรืออาจเรียกได้ว่าแผนยืนพื้น แผนถาวร หรือแผนประจำ) เป็นแนวคิด หลักการ หรือแนวทางปฏิบัติในการกระทำกิจกรรมบางอย่างภายในหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการกระทำซ้ำบ่อยๆ แผนหลักหรือแผนประจำนี้ จะถูกนำมาใช้ได้หลายๆครั้งโดยไม่มีการกำหนดอายุ (ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ทั้งภายในและภายนอกเป็นเกณฑ์) แผนหลักหรือแผนประจำจึงต้องเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาระหว่างฝ่ายต่างๆ
                        7.2 แผนใช้เฉพาะครั้ง (Single-Use Plan) หมายถึง แผนที่เตรียมขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก (one time Goal) เมื่อบรรลุผลตามที่กำหนดแล้วจะเลิกใช้แผนนั้นๆ แต่ถ้าสถานการณ์เอื้ออำนวยจะนำกลับมาใช้ใหม่อีกก็ได้

              🚩จากการจำแนกประเภทของแผน หากพิจารณาแผนที่หน่วยงานทางการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนต้องดำเนินการแล้ว แผนที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการไม่ว่าจะคำนึงถึงบริบทของหน่วยงาน วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ระยะเวลา คือแผนกลยุทธ์ที่ต้องมุ่งพัฒนาหน่วยงานไปสู่อนาคตที่สอดคล้องกับนโยบายหน่วยเหนือและตามความต้องการของหน่วยงาน รวมถึงบริบทที่เปลี่ยนไปโดยใช้ศักยภาพภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ช่วยหนุนเสริมผลักดันให้หน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจที่กำหนดไว้

ขอขอบคุณ https://sites.google.com
สืบค้นเมื่อ วันที่27 ธันวาคม 2560 






วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การพัฒนางาน


🚶การพัฒนางาน🚶
Development work

😚😚😚😚😚

🚘การพัฒนางาน  คือ กระบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล

✨หลักการและวิธีพัฒนางาน✨

การวิเคระห์งานมีวิธีการดังนี้
1.การวิเคราะห์งานด้วยการใช้แนวทางความเป็นเป็นไปได้ของงาน
2.การวิเคราะห์งานด้วยการวิเคราะห์กิจกรรมของงาน
3.การวิเคราะห์งานด้วยการวิเคราะห์หน่วยของงาน

🌠การพัฒนาวิธีการทำงาน🌠

            1.ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
            2.ปรับปรุงวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ ทำงาน
            3.ปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้เหมาะสมขึ้น
            4.ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพง่ายต่อการผลิต และต้นทุนต่ำ
            5.ปรับปรุงโดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ แปรรูปได้ง่าย



🌌หลักการจัดสถานที่ทำงาน🌌

 1.การจัดวางวัสดุเครื่องมือ และปุ่มควบคุม ภายในระยะที่หยิบถึงง่าย
 2.การปรับปรุงท่าปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
 3.การใช้แคลมป์หนีบอุปกรณ์จับยึด และอุปกรณ์อื่นเพื่อประหยัดเวลาแรงงาน
 4.การปรับปรุงหน้าปัดแสดงผลและแผงควบคุมเพื่อลดการผิดพลาด

✿การพัฒนาสถานที่การทำงาน✿

            1.การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ
            2.การใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
            3.การจัดรูปแบบของงาน
            4.การวิเคราะห์ระบบงานและจัดสถานที่
            5.การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม

⛢การวิเคราะห์การจัดระบบงานและจัดสถานที่⛢

            1.ระบบงานที่ต้องทำบ่อยๆควรจะออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ให้อยู่ใกล้กับคนทำงานในระบบที่เหมาะสมที่สุดและใช้งานสะดวกที่สุดเพื่อที่จะทำงานได้เร็วและไม่เมื่อยล้า
            2.ระบบงานที่ทำตามหน้าที่การใช้งาน ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
            3.ระบบงานที่ต้องทำตามลำดับขั้นตอน การออกแบบต้องคำนึงถึง การหยิบใช้งานได้อย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอนการทำงานก่อนหลัง

🌟องค์ประกอบของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน🌟

            1.สุขภาพและความปลอดภัย
            2.เวลาการทำงาน ทำงานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสูญเสียความสนใจ ในงานความเหนื่อยหน่าย ความเมื่อยล้า
            3.สภาพภูมิอากาศ
            4.กลิ่น ฝุ่น และสารพิษ
            5.แสงสว่าง
            6.เสียงและความสั่นสะเทือน
            7.อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า

🌙การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน🌙

            1.จัดตั้งองค์การเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย
            2.การจัดเวลาการทำงาน
            3.ปกป้องโรงงานจากสภาพภูมิอากาศ
            4.การกำจักหรือแยกแหล่งกำเนิดมลพิษ
            5.การปรับปรุงพื้นอาคาร
            6.วางผังโรงงานอย่างยืดหยุ่นและดัดแปลงได้ง่าย
            7.อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า


⭐ขอบเขตของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมในการทำงาน⭐

หากพิจารณาสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัยบ่งได้ดังนี้
             1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงของคนเช่นแสงสว่างความสั่นสะเทือนเสียงและอากาศอุณหภูมิ
             2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อที่มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ พืช หรืออากรติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา รวมทั้งความชื้นหรือความแออัดคับแคบจากสถานที่ทำงาน
             3. สิ่งแวดล้อมทางเคมี เกิดจากการทำปฎิริยาทางเคมีของสสารต่างๆ เช่น แก๊ส เขม่า ควันไฟ ฝุ่นโลหะ สารเคมีอื่นๆ

             4. สิ่งแวดล้อมการจัดสภาพงาน ที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของคนงาน เช่น สภาพการทำงานที่ซ้ำซากจำเจ ความเบื่อหน่ายต่อการทำงานความกังวลและปัญหาต่างๆในหน่วยงานเป็นต้น





❀การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์❀

วัตถุประสงค์ของการออกแบบเพื่อพัฒนาเครื่องมือ
            1.เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ราคาต่ำมีคุณภาพและมีขนาด/รูปร่างเท่ากัน
            2.เพิ่มผลผลิตการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ
            3.พัฒนาวิธีทำงานกับเครื่องมือให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
            4.เลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือเพื่อให้อายุการใช้งานเครื่องมือสูงสุด
            5.เตรียมอุปกรณ์ให้ปลอดภัยมากที่สุด


✽หน้าที่ของอุปกรณ์ในการทำงาน✽

            1.อุปกรณ์นำเจาะ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งยึดชิ้นงานและเป็นตัวนำทางของเครื่องมือตัด(Cutting tools)
            2.อุปกรณ์จับยึดงาน ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งจับยึดชิ้นงานและร่องรับชิ้นงานให้อยู่กับที่ในขณะเครื่องกำลังทำงาน
            3.อุปกรณ์ขนถ่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ขนส่งของจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งในเวลาที่ต้องการ และอยู่ในลักษณะของคุณภาพที่ต้องการรวมทั้งการเก็บรักษาและการบรรจุหีบห่อ


🌞เทคนิคในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน🌞

            1. ตั้งเป้าหมายในการพัฒนางานต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทายในการพัฒนางานเช่น เพิ่มยอดขาย 30% เพิ่มประสิทธิภาพ 20%หรือ ลดค่าใช้จ่ายในการทำงานลง 10% ต้องการเป็น TOP SALE เป็นต้นเป้าหมายจะเปรียบเสมือนการจุดไฟสร้างแรงจูงใจให้กับเราเองจะทำให้เรารู้ว่า เราควรทำงานหนักไปเพื่อใคร และทำไม
            2. คิดและทำอย่างเป็นระบบการทำงานนั้น ไม่ได้อาศัย ประสบการณ์ แต่เพียงอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยการพัฒนาระบบงานที่ดีด้วย
            3. จัดลำดับความสำคัญของงานโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความสำคัญ กับ ความเร่งด่วนงานใดสำคัญมาก เร่งด่วนมาก ให้ทำก่อนงานใดสำคัญมาก แต่ไม่เร่งด่วน ก็มอบหมายให้คนที่มีฝีมือทำไปก่อนงานใดสำคัญน้อย แต่เร่งด่วนมาก ก็อาจให้ลูกทีมที่ทำงานเร็ว ทำแทนงานใดไม่สำคัญ ไม่เร่งด่วน ก็อาจต้องพิจารณาตัดออกไปบ้างประเด็นก็คือ อย่ากอดงานไว้กับตัวเพียงคนเดียว หัดกระจายงานบ้าง
            4. วางแผนอย่างรอบคอบ จะทำให้เราทำงานน้อยลงวางแผนให้มาก คิดให้รอบคอบ หาแนวทางและทางเลือกที่หลากหลายเพื่อเปรียบเทียบหาแนวทางและทางเลือกที่ดีหรือเป็นไปได้ที่สุดแล้วเราจะได้แผนงานที่ดี เวลาปฏิบัติตามแผนก็จะง่ายขึ้น
            5. คิดไว้เสมอ วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน, พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้หากเรามีความเชื่อเช่นนี้ เราก็จะพัฒนาตนเอง พัฒนาการทำงานอยู่เสมอผลที่ได้ก็จะทำให้เราทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ




ขอขอบคุณ www.lms.rmutsb.ac.th
สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2560











การจัดการงานอาชีพ

⛄การจักการงานอาชีพ ( Management )⛄ 😃😃😃😃😃 ☔ขั้นตอนของการพัฒนาด้านอาชีพ             ช่วงแรก   เป็นระยะเริ่มต้นก้าวสู่ง...