การจัดองค์การ
(Organizing)
การจัดองค์การ หมายถึง
กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานของบุคลากร
ความสัมพันธ์ระหว่างงานประเภทต่างๆสายงานการบังคับบัญชาอย่างชัดเจนที่ผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำหนด เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การดำเนินได้อย่างชัดเจน
มีระเบียบและมีแบบแผน
การจัดองค์การโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.
นโยบายที่ชัดเจน
2.
มีการแบ่งงาน
3.
กำหนดลักษณะของงานให้ชัด
4.
มีสายการบังคับบัญชา
5.
มีเอกภาพในการบังคับบัญชา หรือมีผู้บังคับบัญชาเพียงคน
6.
ช่วงของการควบคุม
7. การประสานงาน
8. การยืดหยุ่น
9. ความต่อเนื่อง
ความสำคัญของการจัดองค์การ
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงกระแสการไหลของงาน
2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขอบเขตของงาน
3. เป็นกรอบที่เชื่อมโยง
การทุ่มเทความพยายาม ที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการวางแผน และการควบคุมไปสู่ผลสำเร็จ
4. จัดวางช่องทางเพื่อการติดต่อสื่อสาร
และการตัดสินใจ
5. ป้องกันการท
างานที่ซ้ำซ้อน และขจัดข้อขัดแย้งในหน้าที่การงาน
6. ช่วยให้มองภาพความสัมพันธ์ระหว่างงาน
ผู้ปฏิบัติงาน และเป้าหมายขององค์การ
ประโยชน์ของการจัดองค์การ
1. การตอบสนองความต้องการทางสังคม
2. การตอบสนองความต้องการทางวัตถุ
2.1. เพื่อเพิ่มกำลังความสามารถ
2.2. เพื่อช่วยให้มีการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว
และแข่งกับเวลา
การพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การคือ
ความพยายามเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนทั่วทั้งองค์การโดยเริ่มจากฝ่ายบริหารระดับ สูง
เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตขององค์การโดยการสอดแทรกสิ่ง
ที่ได้มีการวางแผนไว้แล้วเข้าไปในกระบวนการขององค์การด้วยการใช้ความรู้ทาง
ด้านพฤติกรรมศาสตร์
ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การควรดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ
2. การสอดแทรกวิธีการใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาองค์การ
3. การบำรุงรักษาวิธีการใหม่ๆนั้นให้คงอยู่ตลอดไป
หลักการพัฒนาองค์การ
1.
การพัฒนาทางด้านโครงสร้าง
2.
การพัฒนาทางด้านกระบวนการ
วิธีการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การมีวิธีการหลายแบบที่นำมาใช้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวิธีการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการมาใช้เป็นที่นิยมแพร่หลายมานานได้แก่
1.
การฝึกอบรมแบบการฝึกการปะทะสังสรรค์
2.
การประชุมปรึกษาหารือ
3. การสร้างทีมงาน
4.
การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ
รูประบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการจัดหาบุคคลหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดเป็นหน้าที่ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในความหมายของ Staffing ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2. การสรรหาบุคคล
3. การคัดเลือกบุคคล
4. การบรรจุแต่งตั้ง
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา
6. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
7. การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน
รูปกระบวนการจัดหาทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง
กระบวนการวิเคราะห์คาดการณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตขององค์การ โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การตลอดจนการกำหนดลักษณะของบุคลากรที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่างและเพียงพอที่จะปฏิบัติงานในเวลาหนึ่งเวลาใดอย่างเหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความจำเป็นในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
สาเหตุความจำเป็นในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้คือ
1.สภาวะต่าง ๆ ในการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่างรวดเร็วหากองค์การไม่มีการวางแผนกำลังคนเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง
ย่อมก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น
การขาดอัตรากำลังคนในองค์การ เป็นต้น
2.ปัจจุบันนี้องค์การมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
องค์การจำเป็นต้องใช้บุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ จึงทำให้ต้องมีการวางแผนกำลังคนเพราะกว่าจะได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามรารถ ต้องพัฒนาฝึกอบรม
ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก
3.ข้อกำหนดและกฎหมายของรัฐ
มีอิทธิพลต่อการดำเนินการบริหารงานบุคคล เช่น กฎหมายแรงงานสัมพันธ์กฎหมายคุ้มครองด้านแรงงานจึงทำให้นักบริหารต้องวางแผนกำลังคนให้เหมาะสม
4.ต้องการให้เกิดความสมดุลระหว่างทรัพยากรบุคคลในตำแหน่งงานต่าง
ๆ กับปริมาณงานที่จะต้องทำในอนาคต
5.ใช้ข้อมูลที่ได้จากการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นประโยชน์ในการบริหารการจัดการบุคคลในด้านอื่น
ๆ เช่น การว่าจ้าง การบรรจุแต่งตั้ง การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่งและการจ่ายค่าตอบแทน
เป็นต้น
6.ช่วยให้การจ้างอัตรากำลังคนใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7.เป็นแนวทางในการสร้างกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การ
8.ช่วยให้กิจกรรมต่างในด้านอัตรากำลังคนเป็นไปอย่างมีระบบ
กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ควรพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การพิจารณาเป้าหมายและแผนขององค์การ คือ การศึกษาและพิจารณาแผนงานที่องค์การได้กำหนดไว้เพื่อจะนำผลของการศึกษามาจัดวางข้อมูลด้านบุคลากรในอนาคต
ขั้นที่ 2 การพิจารณาสถานการณ์ทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน คือ การสำรวจ
และการจำแนกตามประเภทต่าง ๆ เช่น ตามลักษณะงาน เพศ อายุ และการศึกษา เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การคาดการณ์ทรัพยากรมนุษย์ เป็นการพิจารณาถึงความต้องการจำนวน
ประเภทของพนักงานที่องค์การต้องการซึ่งต้องพิจารณาโดยละเอียดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การโยกย้าย การลาออก การเลื่อน ตำแหน่ง การเกษียณอายุ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การกำหนดแผนการปฏิบัติ เมื่อได้คาดการณ์ทรัพยากรมนุษย์แล้ว
จึงกำหนดออกมาเป็นแผนงานเพื่อปฏิบัติเช่นแผนการสรรหา แผนการคัดเลือก แผนการบรรจุ
แผนการฝึกอบรมเป็นต้น
ขั้นที่ 5 การตรวจสอบและการปรับปรุงขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบเปรียบเทียบและปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปกระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การสรรหาบุคลากร (Recruitment)
การสรรหาบุคลากร
เป็นงานขั้นแรกและเป็นงานที่มีความสำคัญในกระบวนการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) เป้าหมายก็คือ
ให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานในองค์การนั่นเองเพราะความสำเร็จขององค์การก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากร
ดังนั้น การสรรหาคัดเลือกย่อมต้องรอบคอบ เช่นเดียวกัน
การสรรหา คือ
กระบวนการในการแสวงหาเสาะหาและจูงใจผู้สมัครงานที่มีความรู้ความสามารถให้มาทำงานในองค์การ
การสรรหา คือ กระบวนการในการพยายามเสาะแสวงและจูงใจให้บุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
ตามที่องค์การกำหนดไว้ ให้เข้ามาสมัครงานในองค์การ
ขอขอบคุณ www.gotoknow.org
สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น