💀การจัดการความเสี่ยง💀
(Risk Management)
👉ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนต่อการประสบกับเหตุการณ์ หรือ สภาวะที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์โดยมีความน่าจะเป็น หรือโอกาสในสิ่งนั้นๆมากกว่าศูนย์
👉การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (Risk
Management) คือ กระบวนการในการระบุ (Risk Identification) วิเคราะห์ (Risk
analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยง (Risk
Control) ที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน
เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด
แนวทางในการบริหารความเสี่ยง
ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย🎸
🎻1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงของบริษัท (Objective) และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่แต่ละองค์กรจะต้องสามารถวิเคราะห์
(Risk
Analysis) และกำหนดให้ได้ว่าองค์กรหรือหน่วยงานใดในองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงใดบ้าง
(Risk
Identification) ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดและผลกระทบที่แตกต่างกัน
(Risk
Estimation) โดยที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจจะมีโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิด (Likelihood)
ตั้งแต่น้อยมาก
(Rare)
จนไปถึงมีความเป็นไปได้สูง
(Almost
Certain) รวมถึงผลกระทบที่ตามมาจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Consequence)
🎻2. การหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยง
2.1 การลดความเสี่ยง
(Risk Reduction) ความเสี่ยงที่ได้รับอาจลดลงได้
ด้วยวิธีการหาทางป้องกันเพื่อมิให้มีความเสียหายเกิดขึ้น
การลดความเสี่ยงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดจำนวนครั้งของความเสียหายลง
หรือลดความรุนแรงของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การวิเคราะห์อาจอาศัยข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน
ซึ่งรวมถึงข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคตประกอบการตัดสินใจ
2.2
การรับความเสี่ยงไว้เอง (Risk Retention) คือการที่ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ
ยินยอมที่จะรับภาระความเสี่ยงหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไว้เอง
เนื่องจากเล็งเห็นว่าโอกาส
หรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสียหายอยู่ในวิสัยที่การทำธุรกิจนั้นยอมรับได้
2.3
การโอนความเสี่ยง
(Risk Transfer) เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงอีกรูปแบบหนึ่งที่ธุรกิจจะต้องวิเคราะห์และตัดสินใจที่จะเลือกโอนความเสี่ยงออกไปในรูปแบบใด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจนั้นๆ เช่น
การโอนความเสี่ยงไปให้บุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทประกันโดยสัญญา
หรือการโอนความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยตามรูปแบบและเงื่อนไขที่ธุรกิจต้องการ
2.4
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจกระทำได้โดยวิธีการง่ายๆโดยที่ธุรกิจไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้น่าจะเป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจใช้วิธีการอื่นเข้ามาแก้ไขได้เท่านั้น
การตัดสินใจในวิธีการนี้ธุรกิจต้องเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียก่อนการตัดสินใจ
🎻3. การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด
การตัดสินใจคัดเลือกวิธีการบริหารความเสี่ยงจะต้องคำนึงถึง
3.1 ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหากเลือกวิธีการดังกล่าว
และการเตรียมแนวทางแก้ไข
3.2 ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการจัดการตามวิธีการที่คัดเลือกมีจำนวนมากน้อยเพียงใด
3.3 ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจที่อาจได้รับจากการตัดสินใจ
🎻4. รายงานความเสี่ยงที่เหลือ
(Residual Risk Reporting)
เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่ระบุไว้แล้ว
ก็จะทำการรวบรวมความเสี่ยงที่ยังคงเหลือไปนำเสนอผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
🎻5. ติดตามผล และประเมินผล (Monitoring
and Evaluation)
เมื่อการดำเนินงานในขั้นต่าง
ๆ ได้ดำเนินงานผ่านพ้นไป ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตามผลที่ได้กระทำไป
😜ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง😜
🎺ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง🎺
💦ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง อาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบงานขององค์กร บุคลากร การเงินการคลัง การเมืองเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ลูกค้าหรือผู้รับบริการ สภาพการแข่งขัน เป็นต้น
และอาจมีแหล่งที่มาของความเสี่ยงทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ดังนี้
🙉ความเสี่ยง ภายในองค์กร เช่น
1.
สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
2.
ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.
วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
4.
การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
5.
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(Conflict of Interest) เป็นต้น
🙊ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น
1.
การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
2.
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
3.
กระแสโลกาภิวัฒน์
4.
เสถียรภาพทางการเมือง
5.
การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
6.
กระแสสังคม
สิ่งแวดล้อม
7.
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
เป็นต้น
😜ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง😜
💢การนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร
จะช่วยให้เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร
จะมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ล่วงหน้า
หรือในกรณีที่พบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
โอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้น
ก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้
เพราะได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า
ในขณะที่องค์กรอื่นที่ไม่เคยมีการเตรียมการหรือไม่มีการนำแนวคิดของกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้
เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้น
องค์กรเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาและความเสียหายที่ตามมาโดยยากที่จะแก้ไข
ดังนั้นการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาช่วยเสริมร่วมกับการทำงาน
จะช่วยให้ภาระงานที่ปฏิบัติการอยู่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
และป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
🌲ความเสี่ยงของบริบทราชการไทย🌲
ความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐมีความแตกต่างจากภาคเอกชน
เนื่องจากวิสัยทัศน์และภารกิจที่แตกต่างกัน โดยในภาคเอกชนั้น
ความเสี่ยงทางการเงินเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด
เพราะแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างกำไรสูงสุด
ในขณะที่แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐจะมุ่งเน้นที่การตอบสนองนโยบายรัฐและให้บริการประชาชน
ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐจึงเกี่ยวกับความเสี่ยงเชิงนโยบายทั้งนี้
ความเสี่ยงของบริบทราชการไทย
ที่นับว่าเป็นเหตุให้การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่
1. ความเสี่ยงเชิงนโยบาย : ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานรวมไปถึงการตัดสินใจด้านบริหารที่ส่งผลต่อทิศทางของหน่วยงาน
ในทางที่ไม่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์
2. ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน : เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์และส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
เช่น การขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมการปฏิบัติงานผิดพลาดหรือล่าช้า
การขาดข้อมูลหรือเครื่องมือที่จำเป็น เป็นต้น
3. ความเสี่ยงทางการเงิน : การบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
อาจทำให้โครงการหรือการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือสำเร็จลุล่วงภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด
ซึ่งอาจเป็นเพราะการประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการไว้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
หรือการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงการขาดการจัดสรรเงิน
หรือทรัพยากรที่มีอยู่เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม
4. ความเสี่ยงด้านเหตุการณ์ : เป็นความเสี่ยงที่ไม่ได้เกิดประจำ
แต่ส่งผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ผลตามแผนยุทธศาสตร์ และไม่สามารถคาดการณ์การเกิดความสูญเสียได้อย่างแม่นยำ
รวมไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น
ความเสี่ยงทางการเมือง การโยกย้ายผู้บริหาร ภัยธรรมชาติ เป็นต้น
🐋ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง🐋
1.
เป็นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กร
การบริหารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ
เนื่องจากการบริหารความเสี่ยง
เป็นการดำเนินการซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในการตอบสนองต่อเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร
2.
ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง
ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด
การบริหารความเสี่ยงจะทำให้พนักงานภายในองค์กรมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร
และตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน
ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในองค์กร
และจากปัจจัยภายนอกองค์กร
สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น