👻การเพิ่มผลผลิต👻
Productivity
increase
👼👼👼👼👼
👏1) ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตมี 2 แนวความคิด คือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม
1.1 แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ตามแนวคิดนี้ ความหมายโดยสรุปคิด “การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งที่วัดค่าได้
และมองเห็นเป็นรูปธรรม”นั่นคือ ตามแนวความคิดนี้
การเพิ่มผลผลิตสามารถวัดค่าได้ทั้งทางกายภาพ คือวัดเป็นจำนวนชิ้นน้ำหนัก ความยาว
ฯลฯ และอีกทางคือ การวัดเป็นมูลค่า ซึ่งวัดในรูปที่แปลงเป็นตัวเงิน
สามารถทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนว่า การประกอบธุรกิจนั้น
ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
💦การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
คือ ผลผลิต (Output) ที่นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณนี้ต้องเป็นผลิตผลที่ขายได้จริงไม่นับรวมผลิตผลที่เป็นของเสียที่ตลาดไม่ต้องการ
และต้องไม่เป็นผลิตผลค้างต๊อกที่เก็บไว้ในโกดังสินค้า
เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อโรงงานค่าที่ได้จากการคำนวณจากอัตราส่วนของผลิตผลและปัจจัยการผลิตนี้จะไปวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าการเพิ่มผลผลิตของโรงงานตามที่กำหนด
และใช้เปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นการคำนวณหาค่าการเพิ่มผลผลิตนี่เรียกว่า
การวัดการเพิ่มผลผลิต ซึ่งแนวทางการเพิ่มผลผลิตมีดังนี้
👉 แนวทางที่ 1 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม
คือ Output เพิ่มขึ้น Input เท่าเดิม
แนวทางนี้นำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตในสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในสภาพปกติ
คือเมื่อพนักงานมีเท่าเดิมต้องการให้ผลิตผลมากขึ้น
ก็หาวิธีการปรับปรุงงานด้วยการนำเทคนิค วิธีการปรุงปรับการเพิ่มผลผลิตเข้ามาช่วย
เช่น ปรับปรุงวิธีการทำงาน ฝึกอบรมทักษะในเรื่องการทำงานให้มีทักษะคุณภาพ กิจกรรม 5 ส กิจกรรม QCC ฯลฯ
จะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีค่าสูงขึ้น โดยไม่เพิ่มปัจจัยการผลิต
👉 แนวทางที่ 2 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตลดน้อยลงคือ Output เพิ่มขึ้น Input ลดลง
แนวทางนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูงสุดมากกว่าวิธีอื่น ๆ
เป็นแนวทางที่นำเอาแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 4 เข้าด้วยกัน ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงกระบวนการผลิตวิธีการทำงานทั้งหมด
จนไม่มีการสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง
ใช้คนงานสุ่มเช็คความเรียบร้อยของสินค้าก่อนบรรจุลงในกล่อง
หากพบสินค้ามีรอยตำหนิไม่เป็นมาตรฐานก็จะแยกส่งออกไปแก้ไขใหม่ใช้พนักงาน 6 คน ในจำนวนพนักงานทั้งหมด12 คน ในสายตาการผลิต
จะเห็นว่าเวลาส่วนใหญ่ของพนักงานทั้ง6
ที่ยืนสังเกตแยกสินค้าออกนี้ ถูกนำไปใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์
ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นต้องปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่
ในการหาวิธีตรวจสองสินค้าที่มีรอยตำหนิ โยกย้ายพนักงานออกไปทำหน้าที่อื่นที่ได้ประโยชน์ในการทำงานมากกว่าจะทำให้โรงงานได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น
และลดปัจจัยการผลิตน้อยลง แนวทางนี้จะเป็นวิธี “การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต่ำ”
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรอย่างคุ้มค่า หรือมีประสิทธิภาวะสูงสุด
โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตจากพนักงานให้สูงขึ้นและให้ลดความสูญเสียที่เกิดจาก “จุดรั่วไหล” ต่าง ๆ ให้มากที่สุด
ประหยัดได้ต้องประหยัด ลดกันทุกจุดที่ทำได้ก็เท่ากับลดต้นทุน
👉 แนวทางที่ 3 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น
แต่ปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (ในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มของผลิตผล) คือ Output เพิ่มขึ้น แต่ Input เพิ่มน้อยกว่า
แนวทางนี้นำไปใช้ในสภาวะเศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการขยายกิจการและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น
มีทุนพอที่จะจัดซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มขึ้น
จ้างแรงงานเพิ่มใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการผลิต ลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้วอัตราส่วนของผลผลิตที่เพิ่มจะมากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต
👉 แนวทางที่ 4 ทำให้ผลิตผลเท่าเดิม
แต่ปัจจัยการผลิตลดลง คือ Output คงที่ แต่ Input
ลดลง แนวทางนี้ไม่เพิ่มยอดการผลิต นั่นคือ
การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เหมาะที่จะใช้กับช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความต้องการของตลาดมีไม่มากนัก เช่น
การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ขจัดเวลาที่สูญเสียต่าง ๆ การประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ให้ใช้อย่างจำกัดและจำเป็นลดความฟุ่มเฟือยต่าง
ไหลหาจุดไหลในการผลิตและลดจุดรั่วนั้น ๆ
👉 แนวทางที่ 5 ทำให้ผลิตผลลดลงจากเดิมแต่ปัจจัยการผลิตลดลงมากกว่า
(ในอัตราลดลงมากกว่าลดผลิตผล) คือ Output ลดลง Input ลดลงมากกว่าแนวทางนี้ใช้ในภาวะที่ความต้องการของสินค้าหรือบริการในตลาดน้อยลง
เพื่อใช้เพิ่มค่าของการเพิ่มผลผลิตเช่นสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีกำลังซื้อ
สินค้าฟุ่มเฟือยไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น รถยนต์ น้ำหอม ฯลฯ
ขายไม่ได้มาก บริษัทที่ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตลง
และพยายามลดปัจจัยการผลิตให้มากกว่าด้วย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตค่าสูงขึ้น
แนวทางการเพิ่มผลผลิตทั้ง
5 แนวทางที่กล่าวมาจะไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่า
แนวทางใดจะเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างไรได้ทั้งหมดเพราะต้องพิจารณาทั้งผลิตผลและปัจจัยการผลิตร่วมเพื่อแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานนั้น
ๆ แต่โดยหลักการพื้นฐานแล้วสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
👊1.1 แนวทางการเพิ่มผลผลิต👊
- หากต้องเพิ่มผลผลิตหรือ Output
สูงนั้น เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจที่ตลาดขยายตัว
ผู้บริโภคกำลังซื้อสูงสินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
- หากลดผลิตผลลง หรือ Output
ลดลง เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซบเซา
ตลาดหดตัวสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดขณะนั้น
- หากเพิ่มปัจจัยการผลิต หมายถึง
ต้องการลงทุนเพิ่มในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ต้องมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วเป็นที่ต้องการของตลาด
- หากลดปัจจัยการผลิต
หมายถึงลดปัจจัยการผลิตได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจเพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
จากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น
ความหมายของการเพิ่มผลผลิตมิได้หมายถึงการเพิ่มปริมาณการสภาวะหนึ่งที่ต้องทำให้อัตราเพิ่มผลผลิตสูงตลอดเวลาซึ่งทำได้โดยสำรวจสภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น
รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดที่มีต่อสินค้าหรือบริการแล้วเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
✌ 1.2 แนวทางเศรษฐกิจสังคม ✌
การเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจสังคมนั้น
เป็นแนวคิดที่เชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะหาหนทางปรับปรุงและสร้างสรรค์ให้สิ่งต่าง
ๆ ดีขึ้นเสมอ โดยการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น
การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ
ทุกระดับที่ต้องร่วมกันเร่งรัดปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ
การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม
การเพิ่มผลผลิตระดับชาติแสดงถึงความสามารถระดับชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติมั่นคงก้าวหน้าต่อไป
ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
👌การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม👌
1. ความสำนึกในจิตใจ
เป็นความสามารถหรือการมีพลังด้านความสามารถที่มนุษย์แสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ
ให้ดีขึ้นเสมอ โดยเชื่อว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้
พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้
โดยผู้มีจิตสำนึกด้านการเพิงผลผลิตจะประยุกต์ใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ
นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
และทันต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตเป็นความสำนึกในการดำเนินกิจกรรมในตลอดวิถีชีวิต
ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์พร้อมทั้งพยายามลดการสูญเสียทุกประเภทเพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติความสำนึกดังกล่าวได้แก่
การช่วยกันประหยัดพลังงานต่าง ๆ และค่าใช้จ่าย
การมีจิตสำนึกในการเคารพกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของสังคม
การนิสัยตรงต่อเวลา การลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฯลฯ
สรุป
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม หมายถึง “การสร้างทัศนคติแห่งจิตใจ ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ
ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด”จะเห็นว่า ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
ทั้งแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคมนั้นมีหลายแนวคิด
และกิจกรรมหลากหลาย จึงต้องช่วยกันเร่งรัดผลักดัน
ปรับปรุงการเพิ่มในทุกระดับเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชาติสืบไป
2) ประเภทของการเพิ่มผลผลิต
ปัจจุบันเครื่องมือและเทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตมีหลากหลาย
ซึ่งล้วนแต่เป็นรูปแบบผสมผสานกันทั้งแบบของญี่ปุ่นและแบบตะวันตก เพราะหลักในการเพิ่มผลผลิตก็คือการขจัดความสูญเสียต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นและสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่พนักงานในการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ
2.1 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นงาน
เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนาปรับปรุงวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การศึกษาการทำงานประกอบด้วยเทคนิคหลัก 2 ประการ คือ
ภาพประกอบที่ 1
ศึกษากระบวนการทำงานที่เป็นระบบเพื่อพัฒนาปรับปรุงการทำงานในประสิทธิภาพ
👏1. การศึกษาการทำงาน หรือวิศวกรรมวิธีการหรือการทำงานง่ายขึ้น
หรือการทำให้งานง่ายขึ้น หรือการปรับปรุงงานหรือการออกแบบงาน
เป็นการบันทึกและวิเคราะห์วิธีทำงานโดยมุ่งที่จะกำจัด
ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นบันได 8 ขั้น
ในการศึกษาวิธีการทำงานได้แก่
👍 ขั้นที่
1 เลือกงานสำคัญที่เหมาะแก่การศึกษา
โดยพิจารณางานที่จำเป็น เป็นปันหาคอคอดในสายการทำงาน
มีของเสียสิ้นเปลืองสูงคุณภาพงานไม่สม่ำเสมอ ซ้ำซาก จำเจ ทำให้เหนื่อยล้ามาก
หรือมีการทำงานล่วงเวลาบ่อยเป็นต้น
👍 ขั้นที่
2 บันทึกโดยตรง
หมายถึง การใช้แผนภูมิหรือแผนภาพมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีทำงาน
👍 ขั้นที่
3 ลงมือตรวจตรา
วิเคราะห์วิธีทำงานที่เป็นอยู่ โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 6W 1H กล่าวคือวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนว่า ทำอะไร
ทำที่ไหน ทำเมื่อไร ใครเป็นคนทำ ทำอย่างไร ทำไมต้องทำ มีอะไรอย่างอื่นที่ทำได้
เป้าหมายในการวิเคราะห์ตรวจตราก็เพื่อกำจัด รวม หรือสลับลำดับงานในขั้นตอนต่าง ๆ
ที่พิจารณาจนกระทั่งเหลือแต่งานที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
👍 ขั้นที่ 4 พัฒนาวิธีใหม่
เป็นขั้นตอนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหาวิธีการใหม่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสภาวการณ์ที่เป็นอยู่
จะต้องมีการบันทึกและตรวจตราวิธีการที่เสนอแนะใหม่
👍ขั้นที่ 5 วัดให้รู้จริง
หาตัวเลขข้อมูลการประหยัดการเคลื่อนไหวและเวลาที่ได้
เพื่อคำนวณความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจของโครงการปรับปรุงที่เสนอแนะเสนอให้ฝ่ายบริหารพิจารณา
👍 ขั้นที่ 6 ทุกสิ่งนิยามไว้
กำหนดวิธีการทำงานที่เสนอแนะเพื่อใช้อ้างอิงในทางปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดอุปกรณ์
วัสดุ เงื่อนไขและผังสถานที่ทำงานให้ชัดเจน
👍 ขั้นที่ 7 ใช้งานเป็นประจำ
นำวิธีการทำงานแบบใหม่ไปปฏิบัติ
โดยต้องได้รับการเห็นชอบจากฝ่ายบริหารและการยอมรับจากคนงานและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้น
ขั้นตอนนี้ครอบคลุมถึงการฝึกหัดพนักงานตามวิธีใหม่และการติดตามดูความก้าวหน้าในการทำงานจนได้ระดับที่น่าพอใจ
👍ขั้นที่ 8
ดำรงไว้ซึ่งวิธี
คอยตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ปรับปรุง
อาจกำหนดสิ่งจูงใจในการทำงานด้วยวิธีใหม่ ไม่มีเพียงเท่านั้น
หากเล็งเห็นวิธีการปรับปรุงอีกก็อาจพิจารณาปรับปรุงต่อไป
ภาพประกอบที่ 2 ฝึกอบรมให้แก่พนักงานเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน
👏3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
ความสำเร็จในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตของหน่วยงานหรือองค์กรมีปัจจัย
ดังนี้คือ
1. บทบาทของผู้บริหารระดับสูงในองค์กร ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างจริงจังและจริงใจ
ให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านงบประมาณ การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน
มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพิ่มผลผลิตในทุก ๆ รูปแบบ
ภาพประกอบที่ 3
ยอมรับการแสดงความคิดเห็นของพนักงานทุกคนเพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ
2. องค์กรต้องจัดตั้งทีมดำเนินงาน
รับผิดชอบในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
เพื่อให้การปรับปรุงดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องระยะยาว แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
3. ต้องประกาศเป็นนโยบายขององค์กร
เพื่อให้พนักงานทุกคนรับทราบ และต้องนับถือเป็นข้อตกลงร่วมกัน
มีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องของการปรับปรุงการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต
4. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ พัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะต่าง
ๆ ที่จำเป็นในการทำงานจัดให้มีกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตต่าง ๆ เช่น กิจกรรม 5 ส กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ กิจกรรมข้อเสนอแนะ ฯลฯ
5. สร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีในองค์กร
เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมีความพยายามตระหนักถึงความจำเป็น
6. องค์กรต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและฝ่ายบริหาร
เพราะจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
7. ต้องมีการแบ่งปันผลปะโยชน์
ซึ่งเกิดจากการเพิ่มผลผลิตให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพราะจะให้เกิดความร่วมมือกับทุก
ๆ ฝ่าย ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในระยะยาว
สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น