การบริหารงานคุณภาพในองค์กร
Quality Management in Enterprise
😝😝😝😝😝
😝😝😝😝😝
💃ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร💃
ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ
กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ
การวาแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล
และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ของพนักงานและของสังคม
👫หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร👫
หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
ประกอบด้วย
💨1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า
1.1 สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า
ตั้งแต่ความคาดหวังที่ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ
จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว
1.2 ตรวจสอบความต้องการของลูกค้า
โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับ
ความพอใจ
1.3
ประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้องปรับปรุงในเรื่องอะไร
1.4 สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร
เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูลความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
1.5 สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)
💨2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)
💨2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)
2.1 กำหนดวิสัยทัศน์
ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
2.2 ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย
แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู้เป้าหมาย
2.3 สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
2.4
สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
2.5
สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
2.6
สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการสร้างความสามัคคี
และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
2.7 สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
2.8
สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
💨3.
การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people)
3.1
องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.2 พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
3.3 สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
3.4
สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.5 เปิดโอกาสให้พนักงานำได้เพิ่มพูนประสบการณ์
ความรู้ และทักษะ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
3.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
3.7 ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน
💨4. การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to management)
กระบวนการประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินการ
และผลลัพธ์จากจากการาดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ได้แก่
4.1 ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า
มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้อง
ให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย
4.2 กระบวนการดำเนินงาน
มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น
ต่อเนื่อง มีระบบการควบคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และวัตถุดิบอย่างเพียงพอ
มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างชัดเจน
4.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน
มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า
💨5.
การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to management)
5.1 วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน
ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
5.2 สร้างระบบความสัมพันธ์
โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
5.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน
ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
5.4 การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน
เป็นกาประเมินโดยมองการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
5.5
การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมขององค์กร
💨6. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
6.1 กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.2
สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.3 จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ
ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงานและดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา
หรือจุดบกพร่อง
6.4 จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.5 การประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน
มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานประจักรในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
💨7.
ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ
7.1 จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
7.2 ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
7.3
มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
7.4 เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
7.5
การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย
💨8.
สัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
8.1 คัดเลือกผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ
8.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.3 สร้างระบบการสื่อสาร หรือเครือข่ายการประสารงานที่มีประสิทธิภาพ
8.4 ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความสื่อสัตย์โปร่งใส
8.5
ให้ความจริงใจกับการพัฒนาระบบความสัมพันธ์
ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ👯
👀การพัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่างๆ
หลายประการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น
การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value)
และ
ทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ เช่น
ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง มีการสอดแทรกข้อคิด (Intervention)
เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาจะต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงสุดและ
คณะกรรมการบริหารจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
เพื่อวัดประสิทธิภาพที่ได้จากการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องใช้เทคนิค
และเทคโนโลยีใหม่ๆ
เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล และมุ่งขจัดความขัดแย้งในองค์การ
การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ👫
👀ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง
จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ
เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่
ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ
เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ
โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน
การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด
ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด
ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบโดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก
ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง
อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ
การ บริหารงานลักษณะนี้
พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล
แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก
ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน มี
ความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่
มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง
ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน
💬องค์การ ควรจะมีการฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอ
เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
แต่การฝึกอบรมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ปฏิบัติอยู่ว่าเป็น
งานลักษณะใด และขึ้นอยู่กับงบประมาณ
1. การฝึกอบรม (Training of subordinates) องค์การ
ควรจะมีการฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอ
เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน
2. การมอบหมายอำนาจหน้าที่ต้องชัดเจน(Clarity
of delegation of authority) ผู้
บริหารควรมอบหมายงานที่เห็นว่าสมควรให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้กระทำแทน
และควรจะมอบหมายทั้งอำนาจและการตัดสินใจไม่ควรจะมอบแต่งาน
3. ความชัดเจนของแผน(Clarity of plan) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการวางแผน
เพื่อจะได้วางแผนให้ครอบคลุมทุกสิ่งในองค์การ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์
ทรัพยากรต่างๆ อำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย กฎระเบียบต่างๆ
4. การใช้จุดประสงค์มาตรฐาน(Use of objective standard) ผู้จัดการจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การให้แน่นอนและตั้งเป็นมาตรฐาน
5. เทคนิคการติดต่อสื่อสาร(Communication techniques) ผู้บริหารควรมีทักษะในการติดต่อสื่อสารเพราะการมอบหมายงานจะประสบความสำเร็จ
6. จำนวนของการติดต่อระหว่างบุคคลในฝ่ายต่างๆ(Amount of personal contact needed) ลักษณะ
โครงสร้างขององค์การแบบกว้างเหมาะสำหรับองค์การที่มีการติดต่อสื่อสารกันมาก
ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ไม่เสียเวลาในการสื่อสารและยังลดความผิดพลาดลงได้
7. ความผันแปรของระดับขององค์การ(Variation by organization) ระดับ ขององค์การอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมองค์การที่เพิ่มขึ้น
สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น