วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเพิ่มผลผลิต


👻การเพิ่มผลผลิต👻
Productivity increase

👼👼👼👼👼


👏1) ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
    การเพิ่มผลผลิตมี 2 แนวความคิด คือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม
            1.1 แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
              ตามแนวคิดนี้ ความหมายโดยสรุปคิด การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งที่วัดค่าได้ และมองเห็นเป็นรูปธรรมนั่นคือ ตามแนวความคิดนี้ การเพิ่มผลผลิตสามารถวัดค่าได้ทั้งทางกายภาพ คือวัดเป็นจำนวนชิ้นน้ำหนัก ความยาว ฯลฯ และอีกทางคือ การวัดเป็นมูลค่า ซึ่งวัดในรูปที่แปลงเป็นตัวเงิน สามารถทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนว่า การประกอบธุรกิจนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่

             💦การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ ผลผลิต (Output) ที่นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณนี้ต้องเป็นผลิตผลที่ขายได้จริงไม่นับรวมผลิตผลที่เป็นของเสียที่ตลาดไม่ต้องการ และต้องไม่เป็นผลิตผลค้างต๊อกที่เก็บไว้ในโกดังสินค้า เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อโรงงานค่าที่ได้จากการคำนวณจากอัตราส่วนของผลิตผลและปัจจัยการผลิตนี้จะไปวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าการเพิ่มผลผลิตของโรงงานตามที่กำหนด และใช้เปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นการคำนวณหาค่าการเพิ่มผลผลิตนี่เรียกว่า การวัดการเพิ่มผลผลิต ซึ่งแนวทางการเพิ่มผลผลิตมีดังนี้
            👉 แนวทางที่ 1 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม คือ Output เพิ่มขึ้น Input เท่าเดิม แนวทางนี้นำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตในสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในสภาพปกติ คือเมื่อพนักงานมีเท่าเดิมต้องการให้ผลิตผลมากขึ้น ก็หาวิธีการปรับปรุงงานด้วยการนำเทคนิค วิธีการปรุงปรับการเพิ่มผลผลิตเข้ามาช่วย เช่น ปรับปรุงวิธีการทำงาน ฝึกอบรมทักษะในเรื่องการทำงานให้มีทักษะคุณภาพ กิจกรรม 5 ส กิจกรรม QCC ฯลฯ จะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีค่าสูงขึ้น โดยไม่เพิ่มปัจจัยการผลิต
            👉 แนวทางที่ 2 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตลดน้อยลงคือ Output เพิ่มขึ้น Input ลดลง แนวทางนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูงสุดมากกว่าวิธีอื่น ๆ เป็นแนวทางที่นำเอาแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 4 เข้าด้วยกัน ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงกระบวนการผลิตวิธีการทำงานทั้งหมด จนไม่มีการสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง ใช้คนงานสุ่มเช็คความเรียบร้อยของสินค้าก่อนบรรจุลงในกล่อง หากพบสินค้ามีรอยตำหนิไม่เป็นมาตรฐานก็จะแยกส่งออกไปแก้ไขใหม่ใช้พนักงาน 6 คน ในจำนวนพนักงานทั้งหมด12 คน ในสายตาการผลิต จะเห็นว่าเวลาส่วนใหญ่ของพนักงานทั้ง6 ที่ยืนสังเกตแยกสินค้าออกนี้ ถูกนำไปใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นต้องปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ ในการหาวิธีตรวจสองสินค้าที่มีรอยตำหนิ โยกย้ายพนักงานออกไปทำหน้าที่อื่นที่ได้ประโยชน์ในการทำงานมากกว่าจะทำให้โรงงานได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และลดปัจจัยการผลิตน้อยลง แนวทางนี้จะเป็นวิธี การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต่ำใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรอย่างคุ้มค่า หรือมีประสิทธิภาวะสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตจากพนักงานให้สูงขึ้นและให้ลดความสูญเสียที่เกิดจาก จุดรั่วไหลต่าง ๆ ให้มากที่สุด ประหยัดได้ต้องประหยัด ลดกันทุกจุดที่ทำได้ก็เท่ากับลดต้นทุน
            👉 แนวทางที่ 3 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (ในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มของผลิตผล) คือ Output เพิ่มขึ้น แต่ Input เพิ่มน้อยกว่า แนวทางนี้นำไปใช้ในสภาวะเศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการขยายกิจการและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น มีทุนพอที่จะจัดซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มขึ้น จ้างแรงงานเพิ่มใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการผลิต ลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้วอัตราส่วนของผลผลิตที่เพิ่มจะมากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต
            👉 แนวทางที่ 4 ทำให้ผลิตผลเท่าเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดลง คือ Output คงที่ แต่ Input ลดลง แนวทางนี้ไม่เพิ่มยอดการผลิต นั่นคือ การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะที่จะใช้กับช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความต้องการของตลาดมีไม่มากนัก เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ขจัดเวลาที่สูญเสียต่าง ๆ การประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ให้ใช้อย่างจำกัดและจำเป็นลดความฟุ่มเฟือยต่าง ไหลหาจุดไหลในการผลิตและลดจุดรั่วนั้น ๆ
            👉 แนวทางที่ 5 ทำให้ผลิตผลลดลงจากเดิมแต่ปัจจัยการผลิตลดลงมากกว่า (ในอัตราลดลงมากกว่าลดผลิตผล) คือ Output ลดลง Input ลดลงมากกว่าแนวทางนี้ใช้ในภาวะที่ความต้องการของสินค้าหรือบริการในตลาดน้อยลง เพื่อใช้เพิ่มค่าของการเพิ่มผลผลิตเช่นสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีกำลังซื้อ สินค้าฟุ่มเฟือยไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น รถยนต์ น้ำหอม ฯลฯ ขายไม่ได้มาก บริษัทที่ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตลง และพยายามลดปัจจัยการผลิตให้มากกว่าด้วย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตค่าสูงขึ้น
            แนวทางการเพิ่มผลผลิตทั้ง 5 แนวทางที่กล่าวมาจะไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่า แนวทางใดจะเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างไรได้ทั้งหมดเพราะต้องพิจารณาทั้งผลิตผลและปัจจัยการผลิตร่วมเพื่อแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ แต่โดยหลักการพื้นฐานแล้วสามารถพิจารณาได้ ดังนี้

                       👊1.1 แนวทางการเพิ่มผลผลิต👊
                             - หากต้องเพิ่มผลผลิตหรือ Output สูงนั้น เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจที่ตลาดขยายตัว ผู้บริโภคกำลังซื้อสูงสินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
                             - หากลดผลิตผลลง หรือ Output ลดลง เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซบเซา ตลาดหดตัวสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดขณะนั้น
                             - หากเพิ่มปัจจัยการผลิต หมายถึง ต้องการลงทุนเพิ่มในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ต้องมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วเป็นที่ต้องการของตลาด

                             - หากลดปัจจัยการผลิต หมายถึงลดปัจจัยการผลิตได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจเพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
                                 จากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น ความหมายของการเพิ่มผลผลิตมิได้หมายถึงการเพิ่มปริมาณการสภาวะหนึ่งที่ต้องทำให้อัตราเพิ่มผลผลิตสูงตลอดเวลาซึ่งทำได้โดยสำรวจสภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดที่มีต่อสินค้าหรือบริการแล้วเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

     ✌ 1.2 แนวทางเศรษฐกิจสังคม ✌
           การเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจสังคมนั้น เป็นแนวคิดที่เชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะหาหนทางปรับปรุงและสร้างสรรค์ให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นเสมอ โดยการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้องตั้งแต่แรก และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ ทุกระดับที่ต้องร่วมกันเร่งรัดปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม การเพิ่มผลผลิตระดับชาติแสดงถึงความสามารถระดับชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติมั่นคงก้าวหน้าต่อไป ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

           👌การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม👌

                  1. ความสำนึกในจิตใจ เป็นความสามารถหรือการมีพลังด้านความสามารถที่มนุษย์แสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ โดยเชื่อว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ โดยผู้มีจิตสำนึกด้านการเพิงผลผลิตจะประยุกต์ใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ และทันต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
                  2. การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตเป็นความสำนึกในการดำเนินกิจกรรมในตลอดวิถีชีวิต ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์พร้อมทั้งพยายามลดการสูญเสียทุกประเภทเพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติความสำนึกดังกล่าวได้แก่ การช่วยกันประหยัดพลังงานต่าง ๆ และค่าใช้จ่าย การมีจิตสำนึกในการเคารพกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของสังคม การนิสัยตรงต่อเวลา การลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฯลฯ
           สรุป การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม หมายถึง การสร้างทัศนคติแห่งจิตใจ ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะเห็นว่า ความหมายของการเพิ่มผลผลิต ทั้งแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคมนั้นมีหลายแนวคิด และกิจกรรมหลากหลาย จึงต้องช่วยกันเร่งรัดผลักดัน ปรับปรุงการเพิ่มในทุกระดับเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชาติสืบไป

2) ประเภทของการเพิ่มผลผลิต
           ปัจจุบันเครื่องมือและเทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตมีหลากหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นรูปแบบผสมผสานกันทั้งแบบของญี่ปุ่นและแบบตะวันตก เพราะหลักในการเพิ่มผลผลิตก็คือการขจัดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่พนักงานในการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ

           2.1 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นงาน
                 เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนาปรับปรุงวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาการทำงานประกอบด้วยเทคนิคหลัก 2 ประการ คือ


ภาพประกอบที่ 1 ศึกษากระบวนการทำงานที่เป็นระบบเพื่อพัฒนาปรับปรุงการทำงานในประสิทธิภาพ

             👏1. การศึกษาการทำงาน หรือวิศวกรรมวิธีการหรือการทำงานง่ายขึ้น หรือการทำให้งานง่ายขึ้น หรือการปรับปรุงงานหรือการออกแบบงาน เป็นการบันทึกและวิเคราะห์วิธีทำงานโดยมุ่งที่จะกำจัด ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นบันได 8 ขั้น ในการศึกษาวิธีการทำงานได้แก่
                 👍 ขั้นที่ 1 เลือกงานสำคัญที่เหมาะแก่การศึกษา โดยพิจารณางานที่จำเป็น เป็นปันหาคอคอดในสายการทำงาน มีของเสียสิ้นเปลืองสูงคุณภาพงานไม่สม่ำเสมอ ซ้ำซาก จำเจ ทำให้เหนื่อยล้ามาก หรือมีการทำงานล่วงเวลาบ่อยเป็นต้น
                 👍 ขั้นที่ 2 บันทึกโดยตรง หมายถึง การใช้แผนภูมิหรือแผนภาพมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีทำงาน
                 👍 ขั้นที่ 3 ลงมือตรวจตรา วิเคราะห์วิธีทำงานที่เป็นอยู่ โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 6W 1H กล่าวคือวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนว่า ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไร ใครเป็นคนทำ ทำอย่างไร ทำไมต้องทำ มีอะไรอย่างอื่นที่ทำได้ เป้าหมายในการวิเคราะห์ตรวจตราก็เพื่อกำจัด รวม หรือสลับลำดับงานในขั้นตอนต่าง ๆ ที่พิจารณาจนกระทั่งเหลือแต่งานที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
                 👍 ขั้นที่ 4 พัฒนาวิธีใหม่ เป็นขั้นตอนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหาวิธีการใหม่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ จะต้องมีการบันทึกและตรวจตราวิธีการที่เสนอแนะใหม่
                 👍ขั้นที่ 5 วัดให้รู้จริง หาตัวเลขข้อมูลการประหยัดการเคลื่อนไหวและเวลาที่ได้ เพื่อคำนวณความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจของโครงการปรับปรุงที่เสนอแนะเสนอให้ฝ่ายบริหารพิจารณา
                 👍 ขั้นที่ 6 ทุกสิ่งนิยามไว้ กำหนดวิธีการทำงานที่เสนอแนะเพื่อใช้อ้างอิงในทางปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดอุปกรณ์ วัสดุ เงื่อนไขและผังสถานที่ทำงานให้ชัดเจน
                 👍 ขั้นที่ 7 ใช้งานเป็นประจำ นำวิธีการทำงานแบบใหม่ไปปฏิบัติ โดยต้องได้รับการเห็นชอบจากฝ่ายบริหารและการยอมรับจากคนงานและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้น ขั้นตอนนี้ครอบคลุมถึงการฝึกหัดพนักงานตามวิธีใหม่และการติดตามดูความก้าวหน้าในการทำงานจนได้ระดับที่น่าพอใจ
                  👍ขั้นที่ 8 ดำรงไว้ซึ่งวิธี คอยตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ปรับปรุง อาจกำหนดสิ่งจูงใจในการทำงานด้วยวิธีใหม่ ไม่มีเพียงเท่านั้น หากเล็งเห็นวิธีการปรับปรุงอีกก็อาจพิจารณาปรับปรุงต่อไป


ภาพประกอบที่ 2 ฝึกอบรมให้แก่พนักงานเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน

👏3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
   ความสำเร็จในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตของหน่วยงานหรือองค์กรมีปัจจัย ดังนี้คือ
                  1. บทบาทของผู้บริหารระดับสูงในองค์กร ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างจริงจังและจริงใจ ให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านงบประมาณ การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพิ่มผลผลิตในทุก ๆ รูปแบบ


ภาพประกอบที่ 3 ยอมรับการแสดงความคิดเห็นของพนักงานทุกคนเพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ

                   2. องค์กรต้องจัดตั้งทีมดำเนินงาน รับผิดชอบในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้การปรับปรุงดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องระยะยาว แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
                  3. ต้องประกาศเป็นนโยบายขององค์กร เพื่อให้พนักงานทุกคนรับทราบ และต้องนับถือเป็นข้อตกลงร่วมกัน มีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องของการปรับปรุงการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต
                  4. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ พัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงานจัดให้มีกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตต่าง ๆ เช่น กิจกรรม 5 ส กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ กิจกรรมข้อเสนอแนะ ฯลฯ
                  5. สร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีในองค์กร เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมีความพยายามตระหนักถึงความจำเป็น
                  6. องค์กรต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและฝ่ายบริหาร เพราะจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
                  7. ต้องมีการแบ่งปันผลปะโยชน์ ซึ่งเกิดจากการเพิ่มผลผลิตให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพราะจะให้เกิดความร่วมมือกับทุก ๆ ฝ่าย ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในระยะยาว




ขอขอบคุณ  www.achinan.blogspot.com
สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560




วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การบริหารงานคุณภาพในองค์กร


การบริหารงานคุณภาพในองค์กร
Quality Management in Enterprise

😝😝😝😝😝



💃ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร💃
ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ การวาแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ของพนักงานและของสังคม

👫หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร👫
หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ประกอบด้วย
            💨1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า
1.1 สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ความคาดหวังที่ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว
1.2 ตรวจสอบความต้องการของลูกค้า โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับ
ความพอใจ
1.3 ประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้องปรับปรุงในเรื่องอะไร
1.4 สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูลความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
1.5 สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)
💨2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)
2.1 กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
2.2 ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู้เป้าหมาย
2.3 สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
2.4 สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
2.5 สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
2.6 สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการสร้างความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
2.7 สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
2.8 สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
          💨3. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people)
3.1 องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.2 พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
3.3 สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
3.4 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.5 เปิดโอกาสให้พนักงานำได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
3.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
3.7 ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน

         💨4. การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to management)
กระบวนการประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินการ และผลลัพธ์จากจากการาดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ได้แก่
4.1 ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้อง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย
4.2 กระบวนการดำเนินงาน มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง มีระบบการควบคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และวัตถุดิบอย่างเพียงพอ มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างชัดเจน
4.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า

              💨5. การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to management)
5.1 วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
5.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
5.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
5.4 การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน เป็นกาประเมินโดยมองการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
5.5 การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมขององค์กร

           💨6. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
6.1 กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.2 สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.3 จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงานและดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา หรือจุดบกพร่อง
6.4 จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.5 การประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานประจักรในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

           💨7. ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ
7.1 จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
7.2 ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
7.3 มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
7.4 เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
7.5 การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย

        💨8. สัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
8.1 คัดเลือกผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ
8.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.3 สร้างระบบการสื่อสาร หรือเครือข่ายการประสารงานที่มีประสิทธิภาพ
8.4 ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความสื่อสัตย์โปร่งใส
8.5 ให้ความจริงใจกับการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ 



 ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ👯
👀การพัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่างๆ หลายประการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value) และ ทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง มีการสอดแทรกข้อคิด (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาจะต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงสุดและ คณะกรรมการบริหารจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อวัดประสิทธิภาพที่ได้จากการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องใช้เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ  เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล และมุ่งขจัดความขัดแย้งในองค์การ

การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ👫
👀ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบโดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง  อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ  การ บริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน  มี ความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน 

💬องค์การ ควรจะมีการฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่การฝึกอบรมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ปฏิบัติอยู่ว่าเป็น งานลักษณะใด และขึ้นอยู่กับงบประมาณ
            1. การฝึกอบรม (Training of subordinates) องค์การ ควรจะมีการฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน
            2.  การมอบหมายอำนาจหน้าที่ต้องชัดเจน(Clarity of delegation of authority) ผู้ บริหารควรมอบหมายงานที่เห็นว่าสมควรให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้กระทำแทน และควรจะมอบหมายทั้งอำนาจและการตัดสินใจไม่ควรจะมอบแต่งาน
            3. ความชัดเจนของแผน(Clarity of plan) ผู้บริหารมีหน้าที่หลักในการวางแผน เพื่อจะได้วางแผนให้ครอบคลุมทุกสิ่งในองค์การ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ ทรัพยากรต่างๆ อำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย กฎระเบียบต่างๆ
            4. การใช้จุดประสงค์มาตรฐาน(Use of objective standard) ผู้จัดการจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การให้แน่นอนและตั้งเป็นมาตรฐาน
            5. เทคนิคการติดต่อสื่อสาร(Communication techniques) ผู้บริหารควรมีทักษะในการติดต่อสื่อสารเพราะการมอบหมายงานจะประสบความสำเร็จ
            6. จำนวนของการติดต่อระหว่างบุคคลในฝ่ายต่างๆ(Amount of personal contact needed) ลักษณะ โครงสร้างขององค์การแบบกว้างเหมาะสำหรับองค์การที่มีการติดต่อสื่อสารกันมาก ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ไม่เสียเวลาในการสื่อสารและยังลดความผิดพลาดลงได้
 7. ความผันแปรของระดับขององค์การ(Variation by organization) ระดับ ขององค์การอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมองค์การที่เพิ่มขึ้น


ขอขอบคุณ www.gotoknow.org
สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560



วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คุณภาพ


คุณภาพ
(Quality)



คุณภาพ  หมายถึง  การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสินค้าหรือบริการนั้นสามารถสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสมได้เปรียบคู่แข่งขัน ลูกค้ามีความพึงพอใจ และยอมจ่ายตามราคาเพื่อซื้อความพอใจนั้น
ลักษณะของคุณภาพ
            คุณภาพตามความหมาย คือคุณลักษณะของสินค้าและบริการที่สนองต่อความพึงพอใจของบุคคลตามที่ต้องการ ดังนั้นคุณลักษณะของคุณภาพจึงแยกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ก็คือการดำเนินงานอย่างเป็นระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนและกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยสามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญได้ 8 ด้าน ได้แก่

1)  สมรรถนะ
2)  ลักษณะเฉพาะ
3)  ความเชื่อถือได้
4)  ความสอดคล้องตามที่กำหนด
5)  ความทนทาน
6)  ความสามารถในการให้บริการ
7)  ความสวยงาม
8)  การรับรู้คุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้า

 2.คุณภาพของงานบริการ
ในส่วนของคุณภาพตามลักษณะคุณภาพของงานบริการประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 9 ด้าน ดังนี้

1)  ความเชื่อถือได้
2)  การตอบสนองความต้องการ
3)  ความสามารถ
4)  การเข้าถึงได้
5)  ความสุภาพ
6)  การติดต่อสื่อสาร
7)  ความน่าเชื่อถือ
8)  ความปลอดภัย
9)  ความเข้าใจลูกค้า



การแบ่งชนิดของคุณภาพ
            การแบ่งชนิดของคุณภาพก็คือระดับความเหมาะสม คุณภาพในการใช้งานและรูปร่างลักษณะ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

1.คุณภาพที่บอกกล่าว (Stated quality) หมายถึง คุณภาพที่กำหนดขึ้นระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายระดับคุณภาพ จะถูกกำหนดขึ้นจากการคาดหมายของผู้ซื้อ โดยที่ผู้ผลิตจะทำหน้าที่ผลิตให้เป็นไปตามสัญญา

2. คุณภาพที่แท้จริง (Real quality) หมายถึง คุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มผลิตจนกระทั่งสินค้าหมดอายุ ระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพสูงเพียงใด ขึ้นอยู่กับการผลิต ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนกระบวนการผลิตจะต้องทำให้ดีที่สุด
 3. คุณภาพที่โฆษณา (Advised quality) หมายถึง คุณลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยผู้ผลิตหรือผู้ขาย เพื่ออ้างถึงสรรพคุณหรือ รับประกันคุณภาพให้กับลูกค้า ในเชิงการค้า

4. คุณภาพจากประสบการณ์ (Experienced quality) หมายถึง คุณภาพที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ของผู้ใช้สินค้าเอง คุณภาพจะดีไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ หากผู้ใช้นำไปใช้ได้ผลดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นดี หากไม่ดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นไม่ดี

            สำหรับคุณภาพ องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดคุณภาพก็คือ คน เครื่องจักร และวัตถุดิบ หากส่วนประกอบทั้ง 3 มีคุณภาพ ไม่บกพร่องและไม่มีความผันแปรก็จะทำให้กระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการควบคุมความผันแปรด้วยการเลือกบุคคลที่มีคุณภาพมีทักษะความรู้ เครื่องจักรทันสมัย และวัตถุดิบที่นำมาใช้นั้นดีก็จะส่งผลถึงการมีคุณภาพด้วย





ประโยชน์ใน ISO 9001ด้านการจัดการคุณภาพมีอะไรบ้าง
·         1. ทำให้คุณกลายเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งในตลาด
·         2. การจัดการที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นจะช่วยให้คุณตอบสนองความต้องการของลูกค้า
·         3. วีที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาเงินและทรัพยากร
·         4. ผลการดำเนินงานที่ดีจะลดความผิดพลาดและเพิ่มผลกำไร
·         5. กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
·         6. เอาชนะใจลูกค้าด้วยการบริการที่เหนือระดับ

·         7. ขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตาม

         BSI คือองค์กรให้การรับรองมาตรฐานสากลแห่งแรกของโลก โดยเริ่มใน ปี พ.ศ. 2444 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการมาตรฐานวิศวกรรมแห่งลอนดอน โดยการนำของท่านเซอร์จอห์น วอลฟแบรรี่ ผู้ออกแบบอาคารคู่ซึ่งเป็นเสาหลักของสะพานลอนดอนบริดจ์ จนกระทั้งปี พ.ศ. 2461 ได้กลายมาเป็นสมาคมมาตรฐานวิศวกรรมแห่งอังกฤษ หลังจากนั้น 2 ปี ได้รับพระราชทานตราตั้งแห่งราชวงศ์อังกฤษ (Royal Charter) ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนมาเป็นสถาบันมาตรฐานอังกฤษและได้เปลี่ยนชื่อเป็น BSI Group เมื่อปี พ.ศ. 2541

เคล็ดลับสำหรับการดำเนินการ ISO 900
1                        1. ได้รับความมุ่งมั่นและการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
                       2. มีส่วนร่วมธุรกิจทั้งหมดด้วยการการสื่อสารภายในที่ดี
3                        3. เปรียบเทียบระบบที่มีคุณภาพที่มีอยู่ของคุณด้วย ISO 9001ข้อกำหนด
4                        4. ได้รับความคิดเห็นของลูกค้าและผู้จัดจำหน่ายในการบริหารจัดการที่มีคุณภาพในปัจจุบัน
5                        5. สร้างทีมงานดำเนินเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
6                        6. วางแผนละแบ่งปันบทบาทความรับผิดชอบและระยะเวลา
7                        7. ปรับตัวให้เข้าหลักการของ ISO 9001ในการบริหารจัดการที่มีคุณภาพให้กับธุรกิจของคุณ
8                        8. กระตุ้นให้มีส่วนร่วมกับการฝึกอบรมพนักงานและมีแรงจูงใจ
9                        9. แบ่งปันความรู้และส่งเสริมให้พนักงานฝึกอบรม ISO 9001 
1                    10. มีการตรวจสอบระบบ ISO 9001 ของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


     วิธีการรับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001
         เราทำให้กระบวนการรับรองง่ายหลังจากที่เราได้รับใบสมัครของคุณเราแต่งตั้งผู้จัดการลูกค้าที่จะแนะนำคุณและธุรกิจของคุณตลอดขั้นตอนดังต่อไปนี้
1                1. การวิเคราะห์แกป                                                                                                          
2                        นี้เป็นบริการก่อนการประเมินทางเลือกที่เราใช้มองใกล้ที่ระบบการจัดการที่มีคุณภาพที่มีอยู่ของคุณและเปรียบเทียบกับความต้องการของมาตรฐาน  ISO 9001 ซึ่งจะช่วยให้ระบุประเด็นที่ต้องการให้มากที่สุดก่อนที่เราจะดำเนินการประเมินผลอย่างเป็นทางการซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและเงินอย่างเป็นทางการในการประเมิน  
3             
4                2. การประเมินอย่างเป็นทางการ                                                                                            
5                        นี้จะเกิดขึ้นในสองขั้นตอน ครั้งแรกที่เราจะตรวจทานการเตรียมความพร้อมขององค์กรของคุณสำหรับการประเมินโดยการตรวจสอบในกรณีที่จำเป็นของ ISO 9001 ขั้นตอนการรับรองและการควบคุมที่ได้รับการพัฒนาเราจะแบ่งปันรายละเอียดของผลการวิจัยของเรากับคุณเพื่อเป็นกรณีศึกษาและตัวอย่างในการพัฒนากับคุณ จากนั้นเราจะจะประเมินการดำเนินการตามขั้นตอนและการควบคุมภายในองค์กรของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขากำลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรับรอง ISO 9001
6             
7                3. การรับรองและอื่น ๆ                                                                                                        

8                        เมื่อคุณได้ผ่านการประเมินอย่างเป็นทางการคุณจะได้รับใบรับรองมาตรฐาน 9001 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นเวลาสามปี และผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ของเราจะติดตามกระบวนการทำงานในระหว่างสามปีว่าองค์กรของคุณยังมีการทำทำตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ 




ขอขอบคุณ www.im2market.com
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 60









การจัดการงานอาชีพ

⛄การจักการงานอาชีพ ( Management )⛄ 😃😃😃😃😃 ☔ขั้นตอนของการพัฒนาด้านอาชีพ             ช่วงแรก   เป็นระยะเริ่มต้นก้าวสู่ง...